กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์และการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ L2502-65-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่5
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 มิถุนายน 2565 - 1 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2565
งบประมาณ 116,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสะตีเย๊าะ ดีนามอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.225,101.661place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก    เป็นโรคติดต่อโดยยุ่งลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรคได้ติดต่อตามสถานการณ์    โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่อง มาเป็น เวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2563-2564) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2565 จะเกิดการะบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้ม พบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000 – 4,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000 – 16,000 ราย เดือนในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน) ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนของตนเองพร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน  ของตนเองพร้อมทั้งแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญ และถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้น และซักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลกาลิซา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลกาลิซา อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม – กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดี และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อ และการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน และศาสนสถาน ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความรวมมือทั้ง    จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานอื่นๆ    ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเพ่อเป็นการเฝ้าระวัง และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก องค์การบริหารส่วนตำบลกาลิซา จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์และการป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้นเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออก และให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชน มัสยิด โรงเรียน ตลอดจนทุกภาคส่วน ร่วมมือผนึกพลัง ความคิด    ความร่วมมือแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายลดลง ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ร้อยละ 80

0.00
4 ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง

ประชาชนมีพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. วิธีดำเนินงาน
    3.1 เขียนโครงการ และเสนอโครงการเพื่ออนุมัติโครงการ
    3.2 แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการฯ 3.3 ดำเนินการบูรณาการกับผู้นำชุมชน
    3.4 จัดดำเนินงานโครงการฯ
    3.5 ดำเนินการมอบทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลาย สารออกฤทธิ์กจัดยุง และโลชั่นทากันยุงในพื้นที่ เพื่อร่วมรณรงค์ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในเขตพื้นที่ตำบลกาลิซา 3.6 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
  2. ติดตั้งป้ายไวนิลรณรงค์ตามจุดที่วางไว้ หมู่ที่ 1 จำนวน 5 จุด
    หมู่ที่ 2 จำนวน 10 จุด
    หมู่ที่ 3 จำนวน 8 จุด
    หมู่ที่ 4 จำนวน 5 จุด หมู่ที่ 5 จำนวน 10 จุด
    หมู่ที่ 6 จำนวน 7 จุด
    1. แจกแผ่นพับรณรงค์ 3.7 ดำเนินการพ่นหมอกควันในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ มัสยิด โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และดำเนินการพ่นหมอกควันในกรณีเกิดโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตร บริเวณรอบๆบ้านพักที่เกิดโรค 3.8 รายงานผลการดำเนินโครงการฯ


      งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลกาลิซา 116,050 บาท ( หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหกพันห้าสิบบาทถ้วน)
      7.1 ค่าทรายอะเบทกำจัดยุง จำนวน 1 ถัง (บรรจุ 500 ซอง)      เป็นเงิน 5,000 บาท 7.2 ค่าโลชั่นทากันยุงชนิดซอง จำนวน 3,000 ซองๆละ 8 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 7.3 ค่าสเปรย์ฉีดยากันยุง 100 กระป๋องๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 7.4 ยาพ่นหมอกควัน ขนาด 1 ลิตร จำนวน 2 ขวด ขวดละ 1,650 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท 7.5 น้ำมันเบนซิล (แก๊สโซฮอล์ 91) จำนวน 80 ลิตร ราคาลิตรละ 50 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท 7.6 น้ำมันโซล่า (ดีเซล)  จำนวน 200 ลิตร ราคาลิตรละ 40 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 7.7 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 3 ม. จำนวน 45 ผืนๆละ 750 บาท เป็นเงิน 33,750 บาท 7.8 ค่าแผ่นพับรณรงค์การฉีดวัคซีน จำนวน 3,000 แผ่นๆ ละ 13 บาท เป็นเงิน 39,000 บาท รวมเป็นเงิน 116,050 บาท ( หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นหกพันห้าสิบบาทถ้วน)
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ลดลง 2 จำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ลดลง 3 ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และร่วมมือในการป้องกันการระบาดโรคไข้เลือดออก 4 สามารถเฝ้าระวัง และควบคุมการระบาดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 10:47 น.