กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะอาด บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8429-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณัฏศิริ พูดเพราะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 1 ก.ค. 2565 26,500.00
รวมงบประมาณ 26,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย เป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล มีการพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องทุกปี แม้ว่าหลายภาคส่วนได้ร่วมมือรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคมาโดยตลอดแล้วก็ตาม     อำเภอสิเกาเป็นพื้นที่ ที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง มีการกระจายของผู้ป่วยทุกตำบล สำหรับตำบลบ่อหิน พบอัตราป่วยในปี 2564 เท่ากับ 5.47 ต่อแสนประชากร พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 15 - 24 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 25-34 ปี และเมื่อจำแนกตามการประกอบอาชีพผู้ป่วย พบว่าเป็นนักเรียน 5 ราย เป็นเกษตรกร 3 ราย และรับจ้าง 2 ราย โดยพบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในเดือนพฤษภาคมถึง 5 ราย ซึ่งเป็นไปตามหลักการระบาดของไข้เลือดออก ที่พบผู้ป่วยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – ตุลาคมของทุกปี     จากการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ในชุมชนเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกา พบว่ามีค่าดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) =20 และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง (CI) =10 ซึ่งเกินเกณฑ์ที่กรมควบคุมโรคกำหนด คือค่าHI ≤10 และค่า CI=0     การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชน มีการร่วมวางแผน และดำเนินกิจกรรม เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา เช่น การจัดการด้านสุขาภิบาลของบ้านเรือน ตามหลัก 3 เก็บ ( เก็บน้ำ เก็บบ้าน และเก็บขยะ) หมั่นสำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขังและบริเวณบ้าน ตลอดทั้งร่วมกำหนดมาตรการทางสังคม เพื่อให้ครัวเรือนมีความรับผิดชอบในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างต่อเนื่อง
    จากความสำคัญดังกล่าว กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและชุมชน โรงพยาบาลสิเกา จึงจัดทำโครงการชุมชนสะอาด บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการจัดสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้ถูกสุขลักษณะอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละ90ของครัวเรือน ร่วมกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการจัดสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้ถูกสุขลักษณะ

90.00
2 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายผ่านเกณฑ์ ( HI ≤ 10, CI = 0)

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 225 26,500.00 1 26,500.00
1 - 31 ก.ค. 65 โครงการชุมชนสะอาด บ้านปลอดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก 225 26,500.00 26,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ชุมชนสามารถดูแลตนเองและสามารถดำเนินกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 13:04 น.