กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8429-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ร้อยตรีหญิงกนกกาญจน์ ช่วงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ส.ค. 2565 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของสตรีวัยทำงานในประเทศไทย พบว่า มีปัญหาสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต สำหรับโรคร้ายที่เกิดกับสตรีไทยคือโรคมะเร็งเต้านม และโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 โรคมะเร็งปากมดลูกพบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันในประเทศไทยพบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาน 13,000 รายต่อปี หรือ 35 คนต่อวัน และพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 รายต่อปี หรือ 27 คนต่อวัน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวมาอย่างมากมาย ซึ่งการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ที่มีความผิดปกติของปากมดลูก ตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งตามขั้นตอนที่ถูกต้องเหมาะสม สามารถลดอุบัติการณ์และอัตราการตายของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ โดยการทำPap smear หรือ VIA (Visual Inspection of cervix with Acetic acid) ประกอบกับการดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป และสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการรักษาตามระบบและการจี้เย็น(Cryotherapy) ในส่วนของโรคมะเร็งเต้านม ยังไม่อาจคันหาสาเหตุสำคัญได้โอกาสที่สตรีจะป้องกันตนเอง จากมะเร็งเต้านม จึงไม่มีเทคโนโลยีใดที่เหมาะสม นอกจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ หากพบก้อนและสงสัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค อัตราการป่วยและอัตราการตายด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดลง       จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกา พบว่า ปีงบประมาณ 2562 – 2564 กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 70.93 , 33.96 และ 48.94 ตามลำดับ และผลการตรวจคัดกรองพบความผิดปกติ จำนวน 2 ราย , 1 ราย และ 2 รายตามลำดับ            คัดกรองมะเร็งเต้านม ร้อยละ 79.84 , 80.26 และ 82.53 ตามลำดับ ผลการตรวจคัดกรองพบความผิดปกติ  จำนวน 3 ราย , 1 ราย และ 2 รายตามลำดับ
    ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา จึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมความรู้ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งเต้านม ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ผ่านเกณฑ์เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

80.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และ อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

-ร้อยละ 40 ของสตรี อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก -ร้อยละ 90 ของสตรี อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

90.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการแจ้งผลการตรวจ

ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการแจ้งผลการตรวจ

100.00
4 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีผลตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลผิดปกติหรือสงสัยได้รับการส่งต่อเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก และ อายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายที่รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้รับการแจ้งผลการตรวจ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 4 : เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีผลตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

25 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้ เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม 0.00 15,000.00 -
25 ส.ค. 65 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตรวจเต้านมแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย 0.00 0.00 -
25 ส.ค. 65 ให้ความรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านม แลัสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเองพร้อมแนะนำการบันทึกข้อมูลการตรวจในสมุดประจำตัว 80.00 15,000.00 -
25 ส.ค. 65 2.1 บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2.2 บันทึกผลการตรวจและรายงานผล 0.00 0.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม รวมถึงเห็นความสำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
2.กลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อ รักษา และติดตามการรักษาที่เหมาะสมทุกราย 3.ลดอัตราการป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 13:14 น.