กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการค่ายอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ เพศศึกษา และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8429-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัสตราภรณ์ ดวงดาว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 1 ส.ค. 2565 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลง ครอบครัวไทยเปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น พ่อแม่ประกอบอาชีพนอกบ้าน เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลเอาใจใส่ ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัฒน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนที่ขาดวุฒิภาวะ ขาดทักษะชีวิต และการควบคุมอารมณ์ ประกอบกับความอยากรู้อยากลอง อาจถูกกระตุ้นด้วยสื่อโซเชียล และกลุ่มเพื่อน ให้ใช้สารเสพติด หรือมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
    แม้จะยังไม่มีตัวเลขที่แน่ชัดของจำนวนหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นทั้งหมด เนื่องจากส่วนหนึ่งยุติการตั้งครรภ์ด้วยการทำแท้ง    อัตราคลอดในแม่วัยรุ่นสูงขึ้น สวนทางกับอัตราคลอดในหญิงวัยอื่นที่ลดต่ำลงทุกปี จากการวิเคราะห์ข้อมูลของสํานักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขปี ๒๕๖๓ ภาพรวมทั้งประเทศ อัตราการคลอดของหญิงอายุ ๑๐-๑๔ ปี ร้อยละ๐.๙    อัตราการคลอดของหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ร้อยละ ๒๘.๗ และมีร้อยละการตั้งครรภ์ซ้ำของหญิงอายุ ๑๐-๑๙ ร้อยละ ๗.๘      จึงคาดการณ์ว่าในอนาคตอีก ๑๐-๒๐ ปีข้างหน้า ประชากรไทยจะมีปัญหาเกิดน้อย-ด้อยคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องหลายด้าน และจากรายงานเฝ้าระวังการทำแท้งในประเทศไทย ปี ๒๕๖๔ พบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่ทำแท้งที่พบในสถานพยาบาลเป็นหญิงวัยรุ่นอายุ ๑๐-๑๙ ปี ซึ่งร้อยละ ๙๒.๖ ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ และยังพบว่า ร้อยละ ๙๕.๗ ของวัยรุ่นอายุ  ต่ำกว่า ๑๕ ปี จากจำนวนนี้ ไม่ได้คุมกำเนิด
    ข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตรัง ปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ อัตราการคลอดของหญิงอายุ ๑๕-๑๙ ปี ร้อยละ ๒๑.๗๙,๒๐.๐๙ และ ๑๕.๓๔ และร้อยละของการตั้งครรภ์ซ้ำในหญิงอายุน้อยกว่า ๒๐ ปีเพิ่มขึ้น ร้อยละ ๑๓.๒๘, ๑๓.๕๙ และ๑๕.๙๔ สำหรับอำเภอสิเกาพบว่าปี ๒๕๖๒- ๒๕๖๔ มีอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่น ร้อยละ ๔.๗๘, ๒.๔๘ และ๒.๙๕ตามลำดับ และในจำนวนนั้น มีหญิงวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ซ้ำในปี ๒๕๖๒,๒๕๖๓ คิดเป็นร้อยละ ๖.๔๕ และ ๑๗.๒๔ ปัญหายาเสพติด ในวัยรุ่น  พบอัตราการเข้ารับการบำบัดยาเสพติดโดยสมัครใจของนักเรียนในปี ๒๕๖๒-๒๕๖๔ ร้อยละ ๑๘ ,๑๖.๓๒ ตามลำดับ ดังนั้นทุกภาคส่วนในสังคมควรตระหนักและช่วยกันเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหา เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่มีสุขภาวะที่ดีทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและ พัฒนาทักษะชีวิตเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เยาวชนมีทักษะ มีภูมิคุ้มกัน สามารถดูแลตนเองและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและป้องกันปัญหายาเสพติด โรคเอดส์ และการป้องกันตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร
    งานสุขาภิบาลและป้องกันโรค โรงพยาบาลสิเกา จึงได้จัดทำโครงการค่ายอบรมให้ความรู้เรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ เพศศึกษาและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรขี้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เยาวชนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ เพศศึกษา และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ร้อยละ ๙๐ ของเยาวชนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ เพศศึกษา และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น

90.00
2 เพื่อให้เยาวชนแกนนำสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

ร้อยละ ๙๐ ของเยาวชนแกนนำสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้เยาวชนแกนนำมีความรู้ความเข้าใจเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ เพศศึกษา และการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้เยาวชนแกนนำสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ส.ค. 65 ๑. จัดกิจกรรมกลุ่มให้ความรู้ กิจกรรมให้ความรู้โดยใช้ฐานกิจกรรม ๔ ฐาน แบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม กลุ่มละ ๑๐ คน ใช้เวลาในการให้ความรู้ฐานละ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที ๒.กิจกรรมรวมกลุ่มซักถามปัญหา และสรุปผลการเรียนรู้ 50.00 10,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อัตราการรับการบำบัดโดยสมัครใจของผู้ติดสารเสพติด ในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น   ๒.อัตราการตั้งครรภ์ในกลุ่มวัยเรียนลดลง   ๓.มีการขับเคลื่อนโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาอย่างถูกต้อง และสามารถขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 13:17 น.