กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8429-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสิเกา
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 สิงหาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ สุวรรวร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.568229,99.346879place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 10,430.00
รวมงบประมาณ 10,430.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019”เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ จากข้อมูลกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสม ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 จำนวน 4,442,648 ราย เสียชีวิต 29,972 ราย ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ประชาชนและนักเรียนได้ครอบคลุมเพิ่มขึ้น ทำให้สถานการณ์ของโรคคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ในระดับคงที่
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงมาตรการผ่อนปรน สถานศึกษาภาครัฐและเอกชนได้เตรียมความพร้อมในการเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2565 นั้น ซึ่งโรงเรียนทั้งหมดในเขตรับผิดชอบเป็นโรงเรียนประเภทไป-กลับ การเปิดโรงเรียนต้องปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดตามประกาศดังกล่าวเพื่อควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แก่ โรงเรียนต้องจัดพื้นที่หรือบริเวณให้เป็นจุดคัดกรอง (Sceening Zone) ที่เหมาะสม นักเรียน ครู บุคลากร และผู้มาติดต่อ ต้องสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่ ทุกคนต้องตรวจคัดกรอง ATK เมื่อสถานศึกษาเปิดเรียน จัดให้มีการสุ่มตรวจ ATK นักเรียน ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา รวมถึงการทำความสะอาด การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวทั่วไปและการกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้อง จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ เกี่ยวกับการดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับนักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนตามแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน การเตรียมสถานศึกษาในช่วงเปิดภาคเรียน กิจกรรมการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเมื่อเปิดการเรียนการสอน การทำความสะอาดโรงเรียน กิจกรรมเมื่อพบผู้ป่วยยืนยัน และการแยกตัวอยู่บ้านของผู้สัมผัสไม่มีอาการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสิเกา ตระหนักถึงความสำคัญของการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องและเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงเรียน จึงจัดทำโครงการโรงเรียนร่วมใจ ป้องกันภัย COVID-19 ประจำปี 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน

ร้อยละ 70 ของนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มขึ้น

70.00
2 เพื่อให้คณะครู นักเรียน มีความรู้และทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK

ร้อยละ ๗๐ ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการใช้ชุดตรวจ ATK ได้ถูกต้อง

70.00
3 เพื่อให้คณะครูและนักเรียน สามารถสื่อสารความรู้ความตระหนักต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในรูปแบบสื่อละคร

มีละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนละ 1 เรื่องในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
10 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ และเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียน กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกทักษะการใช้ชุดตรวจ ATK เบื้องต้น 55 8,055.00 8,055.00
31 ส.ค. 65 การประกวดละครการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 55 2,375.00 2,375.00
รวม 110 10,430.00 2 10,430.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โรงเรียนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลสิเกามีระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 13:20 น.