กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กปฐมวัย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพฟัน
รหัสโครงการ 65-L3046-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2565 - 19 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 25,860.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสมหทัย ปลอดทองสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.813,101.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ค. 2565 22 ก.ค. 2565 25,860.00
รวมงบประมาณ 25,860.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 72 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันน้ำนมในเด็กเล็กมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ ประการแรก คือ ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร ซึ่งหากเด็กฟันผุจะส่งผลกระทบต่อการรับประทานอาหารของเด็ก ซึ่งส่งผลกับสุขภาพและพัฒนาการเด็กโดยตรง จะเห็นได้จากงานวิจัยของพนิตเทพ ทัพพะรังสี และคณะ รายงานว่าเด็กที่มีฟันผุน้อยมีพัฒนาการสมวัยมากกกว่าเด็กที่มีฟันผุมากกว่า เพราะโรคฟันผุที่ลุกลามจะทำให้เด็กมีอาการปวด นอนอมไม่หลับ เคี้ยวอาหารยาก ส่งผลต่อโภชนาการของเด็กในระยะยาว และประการที่สอง ฟันกรามน้ำนมมีหน้าที่เก็บที่ไว้ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาแทน ในผู้ใหญ่เราทราบดีว่า เวลาฟันผุจนต้องถูกถอนฟันไปแล้วนั้น ฟันที่อยู่ข้างๆช่องที่ถูกถอน ก็จะล้มเอียงเข้ามา ในฟันน้ำนมก็เช่นกัน นอกจากฟันข้างๆจะล้มเอียงแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ ฟันทีล้มก็จะล้มมาหรือเลื่อนมาจนไม่เหลือที่ให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาตรงช่องนั้นขึ้นมาได้ ทำให้ฟันแท้บิดเกซ้อนไปมา ต้องรับการแก้ไขอย่างอื่น ๆ ต่ออีก

จากรายงานของโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ในโครงการแก้ไขปัญหาเด็กมะนังยง Smart Kids ได้รายงานผลการตรวจพัฒนาการและสุขภาพเด็กปฐมวัยในตำบลมะนังยง พบว่าเด็กมีฟันผุร้อยละ 83.26 ซึ่งข้อมูลประจำปีการศึกษา 2563 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยงทั้งสองแห่งมีจำนวนเด็กฟันผุถึงขนาดร้อยละ 100 ซึ่งสาเหตุฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาและคนในครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง

ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลมะนังยง จึงเห็นควรจัดบริการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลช่องปากให้กับเด็กเล็กและผู้ปกครอง รวมถึงการบริการทางทันตกรรมให้กับเด็กเล็ก พร้อมทั้งประเมินติดตามผลเพื่อให้เด็กเล็กมีสุขภาพช่องปากที่ดี และส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยและมีฟันที่ดีในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กเล็กอย่างถูกวิธี

เด็กนักเรียน ศพด. มีความรู้และความสามารถในการดูแลช่องปากของเด็กเล็กอย่างถูกวิธีหลังเข้ารับการอบรมมากขึ้นร้อยละ 80 จำนวนเด็ก ศพด. สังกัด อบต.มะนังยง จำนวน 80 คน

80.00
2 เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพช่องปากและเคลือบฟลูออไรด์

เด็กเล็กได้รับการตรวจคัดกรองและเคลือบฟลูออไรด์ร้อยละ 100 จำนวนเด็ก ศพด. สังกัด อบต.มะนังยง จำนวน 80 คน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65
1 กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ(25 ก.ค. 2565-26 ก.ค. 2565) 0.00    
2 กิจกรรมทบทวน ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก(19 ก.ย. 2565-20 ก.ย. 2565) 0.00    
3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก(31 ต.ค. 2565-31 ต.ค. 2565) 0.00    
รวม 0.00
1 กิจกรรมตรวจคัดกรองเด็กเล็กที่มีฟันผุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 กิจกรรมทบทวน ติดตามและประเมินสุขภาพช่องปากเด็กเล็ก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลช่องปาก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายใหม่ลดลง
  2. ร้อยละของเด็กเล็กที่มีฟันผุรายเดิมไม่มีฟันผุเพิ่มขึ้น
  3. ผู้ปกครองและเด็กเล็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากมากขึ้น
  4. ครูพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อสอนเด็กเล็กในการดูแลฟัน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2565 15:14 น.