กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรักและใส่ใจสุขอนามัยช่องปาก
รหัสโครงการ L-65-8428-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดนานอน
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2565
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวศุภลักษณ์ หย้งแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 245 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 245 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไป ก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปากเช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่หรือสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน ทางนี้โรงเรียนวัดนานอน จึงได้คิดที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กในโรงเรียนวัดนานอน ให้หันมาสนใจและได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันมากขึ้น เพราะเด็กในช่วงวัยนี้ฟันแท้กำลังงอกขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ต้องรู้วิธีการรักษาฟัน ป้องกันของตนเอง ดังนั้นถ้าเด็กได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะสามารถดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยได้จัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้เรื่องโรคในช่องปากการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีและถูกหลักอนามัย คิดเป็นร้อยละ 90

นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องช่องปากและการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีและถูกหลักอนามัย

80.00 90.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ทักษะและปฏิบัติตามขั้นตอนของการป้องกันสุขภาพช่องปาก คิดเป็นร้อยละ 85

จำนวนนักเรียนที่มีทักษะและปฏิบัติตามขั้นตอนของการป้องกันช่องปาก

80.00 90.00
3 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมของโครงการไปตรวจสอบช่องปากเบื้องต้นและสามารถไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ COVID-19 คิดเป็นร้อยละ 80

นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมของโครงการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันตามสถานการณ์ของ COVID-19

80.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 0 0.00
1 - 31 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน 0 20,000.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 การตรวจประเมินจากคุณครูประจำชั้นหรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่ามใต้ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) นักเรียนได้รับมีความรู้เรื่องโรคในช่องปากการดูแลช่องปากที่ถูกวิธีและถูกหลักอนามัยได้ 2) นักเรียนมีความรู้ ทักษะและปฏิบัติตามขั้นตอนของการป้องกันสุขภาพช่องปากได้ 3) นักเรียนนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการทำกิจกรรมของโครงการไปตรวจสอบช่องปากเบื้องต้นและสามารถปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้สู่กับในสถานการณ์ COVID-19

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2565 00:00 น.