กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวเรียงใส่ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานตามวิถีของชุมชน
รหัสโครงการ 2560-L2513-1-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เรียง
วันที่อนุมัติ 6 กุมภาพันธ์ 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 มกราคม 2560 - 29 ธันวาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพวัญตี หะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.398,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกคนภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆโดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้โดยมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาทุนสังคม และภูมิปัญญาชุมชน ตลอดจนการมีส่วนร่วมของพื้นที่ในระดับท้องถิ่นกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของการสร้างสุขภาวะให้คนไทยแข็งแรงส่วนหนึ่งนั้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดของโรคไม่ติดต่อได้แก่โรคความดันโลหิตสูงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตโรคเบาหวานโรคหลอดเลือดหัวใจโดยกำหนดให้มีกิจกรรมการคัดกรองค้นหาผู้ป่วยในชุมชน และให้มีการลดละกิจกรรมเสี่ยงอันได้แก่ละเลิกการสูบบุหรี่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ลดอาหารที่มีรสหวานมันเค็มและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้เพิ่มขึ้นมีการออกกำลังกายเป็นประจำลดภาวะน้ำหนักเกิน การดำเนินงานไห้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมของพื้นที่
จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและ ใน ปี 2559 เป้าหมายประชากร 3๕ ปีขึ้นไป จำนวน 838 คน คัดกรอง 787 คน คิดเป็นร้อยละ 93.91 พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 7.37 และเป้าหมายประชากร 3๕ ปีขึ้นไปของเบาหวาน จำนวน 1,006 คน คัดกรอง 950 คน พบกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 4.63 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียงมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงได้จัดทำโครงการชาวเรียงใส่ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ตามวิถีของชุมชน ในปีงบประมาณ2560 ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดอัตราเพิ่มของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับความดัน โลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
  1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีผลการตรวจระดับความดัน โลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

กิจกรรมที่ 1การสร้างแกนนำวิทยากรและการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1.1 ประชุมชี้แจงโครงการฯแก่คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเนื้อหา กำหนดการประชุม เชิงปฏิบัติการฯ การพิจารณากลุ่มเป้าหมาย และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน 1.2 ประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมได้แก่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลเรียงและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน 1.3 ดำเนินการประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทบทวนความรู้และพิจารณาจัดทำ หลักสูตรพื้นฐานการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตและวิถีชุมชน จัดหลักสูตรตามกลุ่มเป้าหมายและปัจจัยเสี่ยง
1.4 เจ้าหน้าที่ผู้ร่วมจัดทำหลักสูตรเป็นทีมวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและ เบาหวาน เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานตามแบบวิถีชุมชนโดยสร้างการมีส่วนร่วมกิจกรรมจากประชาชนกลุ่มเสี่ยง 1.5 ประเมินผลการใช้หลักสูตรสรุปผลการดำเนินโครงการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

กิจกรรมที่ 2 การดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง และการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มเสี่ยง ขั้นเตรียมการ 1. ดำเนินการลงทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองและยืนยันผลการคัดกรองว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง มีความพร้อมและสมัครใจร่วมกิจกรรม ขั้นดำเนินการ 1. ดำเนินงานจัดทำปฏิทินดำเนินงาน กำหนดวันประชุมประสานวิทยาการ ประสานประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการฯ จัดเตรียมสถานที่ เอกสารประกอบการประชุม ข้อมูลสถานการณ์โรคเรื้อรังของพื้นที่ 2. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแก่กลุ่มเสี่ยง จำนวน 102 คน 3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงจำนวน 2 รุ่นๆละ 51 คน ทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งที่ 1 จำนวน 2 วัน ครั้งที่ 2, 3 จำนวนครั้งละ 1 วัน ห่างกันครั้งละประมาณ 1 เดือน ครั้งที่ 4 ห่างจากครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน รวมระยะเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ถึงการประเมินผล 6 เดือน พร้อมทั้งเสริมกิจกรรมประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมเป็นกรอบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถอดบทเรียน และประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มเสี่ยง (รายละเอียดตามภาคผนวก) 4. ประกวดบุคคลหลังเข้ารับการอบรมกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น ประเมินจากระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต ขนาดของรอบเอว และค่า BMI (กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย) 5. สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีผลการ ตรวจระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด เปลี่ยนแปลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. กลุ่มป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน สามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  3. มีเครือข่ายและแกนนำด้านสุขภาพในชุมชน
  4. เกิดนวัตกรรมสุขภาพในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 2560 12:09 น.