กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุขห่างไกลภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี ๒๕๖๕

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างสุขภาพเปี่ยมสุขห่างไกลภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี ๒๕๖๕
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 6 กรกฎาคม 2565
งบประมาณ 30,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุณีย์ นิ่มดวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนประดู่ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.279,100.318place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญ และถือว่าเป็น ''ภัยเงียบ'' เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต เท้า หลอดเลือดและหัวใจในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยสภาวะความเป็นอยู่และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป และบางรายที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานจึงไม่ได้ดูแลตยเองให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ ซึ่งการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน ยื่งส่งผลให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนต่อเท้า ไต ตา ระบบประสาท หัวใจและหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ และยังทำให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร   จากข้อมูล ปี พ.ศ.๒๕๖๔ พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควน มีทั้งหมด ๑๖๔ ราย ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน ๑๒๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๗๑.๖๑ และผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีทั้งหมด ๔๒๓ ราย ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน ๑๕๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๓๕ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ มีจำนวนมาก ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้มีโอกาสเกิดภวะแทรกซ้อนสูง การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้กลุ่มดังกล่าวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรได้   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวควนเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ และเฝ้าระวังภาวะน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และเห็นว่า การจะป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนนั้น ต้องอาศัยการทำงานเชิงรุก การมีส่วนร่วมของชุมชน ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วนและใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน ดังนั้น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านหัวควน ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารสุข ประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสาธารณสุขตำบลบ้านหัวควน จึงจัดทำโครงการสร้างสุขภาพตำบลบ้านหัวควน อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ประจำปี ๒๕๖๕ เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่าง ถูกต้อง

ประเมินผลความรู้ พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ก่อน - หลัง การอบรม

2 2. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า และโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง

รายงานอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 540 30,300.00 0 0.00
5 - 31 ก.ค. 65 1. จัดทำลงทะเบียน ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมระดับความดันโลหิตไม่่ได้ 180 0.00 -
1 - 31 ส.ค. 65 2. ตรวจสุขภาพเบื้องต้น และจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดการเกิดภาวะเเทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 180 25,800.00 -
15 - 16 ก.ย. 65 3. จัดประชุมติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 180 4,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันภาวะเเทรกซ้อนอย่างถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ ๘๐
๒.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมี CVD ลดลงหลังได้รับการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2565 13:44 น.