กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบ้านฉันปลอดขยะ ปลอดโรค
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเยาวชนสาฆอรักษ์สิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 43,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ อายุบ มามะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 24 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือในการแก้ไขกันอย่างเต็มความสามารถเพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทุกระดับและนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรตลอดจนพฤติกรรมการอุปโภคบริโภคของคนเราได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ตะกร้าเวลาไปจ่ายตลาด ใช้ปิ่นโตใส่อาหาร ใช้ใบบัวหรือใบตองห่ออาหาร แต่ปัจจุบันมีการใช้สินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์จำพวกขยะรีไซเคิล แก้วพลาสติก แก้ว กระดาษ โลหะ อลูมิเนียมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกิดมูลฝอยสูงขึ้นตามไปด้วย ผลกระทบที่ตามมา มีทั้งความสูญเสียทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดินเสื่อมสภาพความเสียหายจากเหตุรำคาญส่งกลิ่นเหม็นรบกวนรวมถึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์พาหนะนำโรค ความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจและสิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งประชาชนยังให้ความสนใจในการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพอนามัยไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับประชาชนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยมักจะอยู่ในกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีพอ จึงทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางอาหารและน้ำ เช่น โรคอุจจาระร่วง บิด อาหารเป็นพิษ ไทฟอยด์ และโรคที่เกิดจากสัตว์นำโรค เช่น โรคไข้เลือดออก เลปโตสไปโรซีส ปัญหาการเกิดโรคในชุมชนประกอบด้วยองค์ประกอบหลายด้าน เช่นสภาพแวดล้อมไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธุ์แมลงนำโรคและที่อยู่อาศัยสัตว์นำโรคกระจายอยู่ทั่วไป
      จากปัญหาดั่งกล่าวทีมเยาวชนสาฆอรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้จัดโครงการบ้านฉันปลอดขยะ ปลอดโรค โดยใช้หลักการแรงจูงใจการฝึกฝนทักษะการใช้ประโยชน์จากขยะมาแปลงเป็นผลิตภัณฑ์สาธิตเพื่อสร้างมูลค่าของขยะรีไซเคิลในชื่อกิจกรรม “ขยะความดี” โดยการมีส่วนร่วมจากชุมชน รายได้ที่เกิดจากการจัดกิจกรรมมาจากเงินที่ได้จากการขายขยะให้ร้านรับซื้อของเก่า เพื่อสมทบให้กับมัสยิดเพื่อใช้จ่ายในมัสยิด ร่วมทั้งให้เด็ก เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเพื่อส่งเสริมทักษะความรู้ ด้านการจัดการขยะอย่างถูกวิธีและการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อส่งเสริมให้เยาวชน และชุมชนมีความคิดสร้างสรรค์ ตระหนัก รู้จักการดูแลรักษาสุขภาพตัวเองและสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่งเพราะเด็กคือ อนาคตของชุมชนและสังคม เพื่อก่อเกิดผลต่อการมีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัยจากมลพิษรวมทั้งสามารถนำประสบการณ์นี้เพื่อไปใช้พัฒนาในชีวิตประจำวันได้ กิจกรรมดังกล่าวนี้สามารถทำให้เยาวชนมีความตระหนักถึงปัญหาขยะ สามารถใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ห่างไกลจากสิ่งอบายมุก และรู้จักการจัดการขยะในชุมชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกขยะออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะแต่ละประเภท

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะรีไซเคิลและห่างไกลจากการแพร่ระบาดของโรค

ร้อยละ 100 ทุกครัวเรือนให้ความร่วมมือในการจัดการขยะรีไซเคิลเพื่อป้องกันจากการแพร่ระบาดของโรค

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
8 ก.ค. 65 ติดตั้งตะแกรงการจัดการขยะรีไซเคิลในชุมชน 150 29,050.00 29,050.00
8 ก.ค. 65 กิจกรรมเดินประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจัดการขยะในชุมชน 30 3,350.00 3,350.00
16 ก.ค. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยจากต้นทางและการคัดแยกขยะในชุมชน 30 10,800.00 10,800.00
รวม 210 43,200.00 3 43,200.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคัดแยกขยะจากแหล่งกำเนิดขยะโดยคัดแยกออกเป็นขยะอินทรีย์ ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และการใช้ประโยชน์จากขยะ สภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดีน่าอยู่ น่าอาศัย
2.สามารถป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดที่นำโดยอาหารและแมลงได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565 11:29 น.