กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสามัคคีร่วมใจ รักสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี2565
รหัสโครงการ 65 - l2505 - 2 -6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมจิตอาสาตำบลสามัคคี
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 50,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรุสมี ลาโละซู.นางสาวยารอดะห์ บือราเฮง.นางสาวนูร์รีสา ดอแมง.นางสาวกูรีดา แซะเลาะ.นางสาวมารียานี อาลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 50,500.00
รวมงบประมาณ 50,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

๑. หลักการและเหตุผล(ระบุที่มาของการทำโครงการ)       การมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ซึ่งหากประเทศชาติใดประชาชนมีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง เทคโนโลยีและความเป็นผู้นำของโลก การที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาในพื้นที่ตำบลสะพานไม้แก่น ประกอบด้วย โรคไข้เลือดออก    โรคอุจจาระร่วง  โรคระบบทางเดินหายใจ วัณโรค เป็นต้น ส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง  โรคหัวใจ  และเจ็บป่วยด้วยอุบัติเหตุอุบัติภัย เป็นต้น
โรคติดต่อ มีปัจจัยองค์ประกอบของการเกิดโรค ประกอบด้วย บุคคล  เชื้อโรค  พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือบุคคล ต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์  เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย  พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อม ต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชนทำได้ปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านใดชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว  ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน
ชมรมจิตอาสา องค์การบริหารส่วนตำบลสามัคคี จึงได้จัดทำโครงการสามัคคีร่วมใจ รักสุขภาพ รักษ์สิ่งแวดล้อม ปี 2565 ขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งถ้าหมู่บ้าน/ชุมชนมีความสะอาดแล้วโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้       กาารรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเองให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งถ้าหมู่บ้าน/ชุมชนมีความสะอาดแล้วโรคติดต่อต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนก็จะลดลงได้เป็นอย่างมากส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๕. วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดให้สะอาด 3. สร้างจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

1.หลังคาเรือนมีความสะอาดและมีความเป็นระเบียบร้อย 2. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อลดลง

3.ประชาชนมีความตระหนักในการรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม 60 3,500.00 3,500.00
3 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน 100 22,000.00 22,000.00
4 ส.ค. 65 กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และถอดบทเรียนจากกิจกรรมที่ดำเนินการ 100 10,000.00 10,000.00
5 ส.ค. 65 รงณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย และร่วมกันเก็บขยะสองข้างทาง 100 15,000.00 15,000.00
รวม 360 50,500.00 4 50,500.00

1จัดทำโครงการ เสนอผู้บริหารขออนุมัติโครงการ 2.ประชุมชี้แจงโครงการผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน 3. ประสานงานกับหน่วยงาน/ องค์กรที่เกี่ยวข้อง 4. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อในชุมชน
5. รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ 6. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชน 7. จัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ 8.ดำเนินการรณรงค์ทำความสะอาดหมู่บ้าน/ ที่พักอาศัย (บ้านเรือน)ให้ถูกสุขลักษณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงามอย่างต่อเนื่องทุกเดือน โดยองค์กรต่างๆในชุมชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม 9. มอบประกาศนียบัตรแก่หลังคาเรือนที่มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และหลังคาเรีอนที่สะอาดและมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 10. รายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ตามลำดับ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนและบริเวณบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและถูกหลักสุขาภิบาล ไม่มีการสะสมขยะ และสิ่งปฏิกูลที่เป็นแหล่งเพาะพันธ์ของสัตว์และแมลงนำโรค 2.ประชาชนในพื้นที่สามารถลดอัตราป่วย และลดการแพร่ระบาดของโรคที่มีสัตว์และแมลงเป็นพาหะนำโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2565 15:55 น.