กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายพลังมุสลีมะห์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน
รหัสโครงการ 65-l2505-2-5
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 4 สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีตำบลสามัคคี
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 42,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพาอีซ๊ะ ฮูซี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.423,101.587place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 42,600.00
รวมงบประมาณ 42,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ชายแดนสามจังหวัดภาคใต้ กับความละเอียดอ่อนของชนมุสลิม หลักปฏิบัติที่เคร่งครัดในบริบทที่ผู้คนและชุมชนนับถือศาสนาอิสลามทั้งหมด บนการศรัทธาที่เชื่อมั่นในพระเจ้าและศาสนทูต ที่มีอัลกุรอานและอัลฮาดีษเป็นทางนำของมนุษย์ ความท้าทายอย่างหนึ่งในบทบาทของระบบบริการสาธารณสุข คือการปรับระบบการบริการให้เป็นระบบที่รักษา “คน” ไม่ใช่รักษา “โรค” เป็นระบบสุขภาพที่มี “ความเป็นมนุษย์” (humanized health care)  ความละเอียดอ่อนในจารีตปฏิบัติของชนมุสลิม หากเริ่มต้นจากความไม่เข้าใจ เริ่มต้นจากการเพิกเฉยการคลี่คลายความรู้ที่ถูกต้องก็จะเกิดปรากฏการณ์การหลีกเลี่ยงที่จะใช้บริการสุขภาพจากหน่วยงานรัฐ ทำให้ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามโดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาทางด้านสุขภาพสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ การให้บริการด้วยใจ การคลี่คลายปมข้อสงสัย การบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทำให้ประชาชนรู้สึกสบายใจเมื่อต้องมารับบริการจากโรงพยาบาล เพราะเมื่อเขาเดินเข้ามารับบริการก็มั่นใจได้ว่า จะถูกต้อนรับทั้งความเข้าใจวิถีมุสลิมที่ละเอียดอ่อนและให้เกียรติในฐานะเป็นมุสลิมชน ลดความขัดแย้งและความรู้สึกแปลกหน้าต่อกัน โดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีความใกล้ชิดแน่นแฟ้นทางภูมิหลังที่ขึ้นชื่อและกล่าวขานนามหมออนามัยที่ชาวบ้านนับถือจึงได้ชื่อว่าเป็นพื้นที่ดูแล เยียวยาด้วยหัวใจอย่างแท้จริง การวิเคราะห์แบบองค์รวม (holistic Approach) ผ่านวิถีมุสลิมจะช่วยให้ “เข้าใจ เข้าถึง” วิถีวัฒนธรรมซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพและจัดบริการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตมุสลิม การเข้าใจบทบาทหน้าที่ในฐานะมุสลิม(Function) ที่พึงปฏิบัติต่อพระผู้เป็นเจ้า เป็นสิ่งที่ผู้ให้การรักษาพยาบาลต้องเข้าใจว่า “ผู้ป่วย” มุสลิมมีภารกิจที่สำคัญในการเป็น “มุสลิมที่ดี” การปรับระบบบริการที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด เช่น การบูรณาการหลักอิสลามในการส่งเสริมสุขภาพไม่ว่าจะเป็นคุตบะห์หรือการให้ความรู้ต่างๆ การให้บริการที่มุ่งเอาแนวทางของศาสนามาใช้ในงานอนามัยแม่และเด็ก การสอนดูอาอ์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ให้บริการสามารถที่จะเข้าใจโครงสร้างของสังคมมุสลิมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ให้สุขศึกษาผ่านผู้นำศาสนาหรือโต๊อีหม่าม หากโต๊อีหม่ามเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน  จะช่วยให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น ในเงื่อนไขหลักที่ทุกคนกังวลคือ การรักษาพยาบาลจะขัดต่อหลักศาสนาหรือไม่? เรื่องที่ละเอียดอ่อนไปมากกว่านั้นก็คือ การเข้าใจความคาดหวัง (Expectation) ความคาดหวังสูงสุดของมุสลิมคือการได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮ์(ซ.บ.) ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า (โลกอาคีเราะฮ์) ความโปรดปรานในโลกนี้คือการได้มีชิวตอยู่ตามแนวทางของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งจะส่งผลต่อการได้เข้าสรวงสวรรค์ในโลกหน้า เมื่อมีการเจ็บป่วยในมโนทัศน์ของมุสลิมก็คือการได้รับการบริบาลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และสอดคล้องต่อศาสนกิจ วิถีที่ไม่ขัดต่อแนวทางของอัลเลาะฮ์ ดังนั้น กลุ่มสตรีตำบลสามัคคี จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการสร้างเครือข่ายพลังมุสลีมะห์ส่งเสริมสุขภาพ ปี 2565 เพื่อสร้างเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน เกิดการมีส่วนร่วม และพลังการพัฒนาร่วมกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพมุสลีมะห์ (สตรี)ในพื้นที่ให้มีองค์ความรู้ด้านสุขภาพ สามารถเป็นผู้นำในการ ส่งเสริมสุขภาพของคนในพื้นที่ได้ 2. เพื่อให้เกิดเครือข่ายการดำเนินงานของกลุ่มมุสลีมะห์(สตรี) ขับเคลื่อนการพัฒนาสุขภาพชุมชน

 

200.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
11 ส.ค. 66 - 11 ส.ค. 65 อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชน 200 42,600.00 42,600.00
รวม 200 42,600.00 1 42,600.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมคณะกรรมการ กลุ่มสตรี เพื่อชี้แจงโครงการ และสอบถามความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ 2. จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนา
3. เตรียมการ และมอบหมายงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบ ขั้นดำเนินการ 1. สร้างเครือข่ายการดำเนินงานในชุมชนพลังกลุ่มแกนนำสตรีซึ่งมีฐานความเข้มแข็งอยู่เดิมในชุมชน ดึงเข้ามามีบทบาทในภารกิจด้านสุขภาพ โดยเฉพาะภารกิจด้านสุขภาพกลุ่มสตรี และงานแม่และเด็ก “เครือข่ายพลังมุสลีมะห์อัลอุมมาฮาต” เพื่อสานฝันภารกิจด้านสุขภาพของกลุ่มงานแม่และเด็ก สุขภาพกลุ่มสตรี มาร่วมกันจำทำแผนร่วมกัน กำหนดบทบาทหน้าที่ ดำเนินการในพื้นที่ โดยภารกิจหลักคือการให้ความรู้ ประชาสัมพันธ์ การติดตามและการจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน
2. พัฒนาสุขภาพกลุ่มมุสลีมะห์ในพื้นที่ เป็นเวทีในการพัฒนาด้านองค์ความรู้ด้านสุขภาพแก่ชุมชน ชาวบ้านรู้และ มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพ และน้อมนำแบบอย่างการดูแลสุขภาพต่างๆจากหลักการของศาสนาอิสลาม
3. ให้มีการติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลตามวัตถุประสงค์โครงการ 2. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีเครือข่ายการดำเนินงานที่เข้มแข็ง มั่นคงและยั่งยืน
  2. ชุมชนสามารถจัดการสุขภาพของตนเองได้ผ่านกลไกของการพัฒนามัสยิดซึ่งเป็นศูนย์รวมของชุมชนในแง่ศาสนา
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ค. 2565 16:32 น.