กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปี 2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปี 2565
รหัสโครงการ 11/2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 20,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาเพื่อกลับไปเสียชีวิตที่บ้าน ( against advise)จากภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired ที่ลง ICD 10 รหัส R 65.1 และ R57.2  ใน Principle Diagnosis และ Comorbidity ไม่นับรวมที่ ลงใน Post Admission Comorbidity (complication) และไม่นับรวมผู้ป่วย palliative (รหัส Z 51.5) โดยมีสถานภาพการจำหน่าย (Discharge status) = 2 ปฏิเสธการรักษา, และวิธีการจำหน่าย (ischarge type) = 3 ไม่ดีขึ้น 1. ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง หมายถึง ผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยภาวะsevere sepsis หรือ septic shock     1.1 ผู้ป่วย severe sepsis หมายถึง ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อในร่างกาย ร่วมกับมี SIRS ตั้งแต่ 2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 1) ที่เกิดภาวะ tissue hypoperfusion หรือ organ dysfunction (ตารางที่ 2) โดยที่อาจจะมีหรือไม่มีภาวะ hypotension ก็ได้     1.2 ผู้ป่วย septic shock หมายถึง ผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่ามีการติดเชื้อในร่างกาย ร่วมกับมี SIRS ตั้งแต่ 2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 1) ที่มี hypotension ต้องใช้ vasopressors ในการ maintain MAP ≥65 mm Hg และ มีค่า serum lactate level >2 mmol/L (18 mg/dL) แม้ว่าจะได้สารน้ำเพียงพอแล้วก็ตาม 2. Community-acquired sepsis หมายถึง การติดเชื้อมาจากที่บ้านหรือที่ชุมชน โดยต้องไม่อยู่ในกลุ่ม hospital-acquired sepsis

อัตราตายจากติดเชื้อในกระแสเลือด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. อัตราตายจาก community-acquired sepsis 2. อัตราตายจาก hospital-acquired sepsis 3. กลุ่มเป้าหมาย ในปีงบประมาณ 2561 และ 2562 จะมุ่งเน้นที่กลุ่ม community – acquired sepsis เพื่อพัฒนาให้ มีระบบข้อมูลพื้นฐานให้เหมือนกัน ทั้งประเทศ แล้วจึงขยายไปยัง hospital-acquired sepsis ในปีถัดไป 4. การคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง หมายถึง การคัดกรองผู้ป่วยทั่วไปที่อาจจะเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงเพี่อนำไปสู่การวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงต่อไป ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ (sepsis screening tools) qSOFA ตั้งแต่ 2 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 3) modified early warning score SOS score (search out severity) ตั้งแต่ 4 ข้อ ขึ้นไป (ตารางที่ 4) ซึ่งเกณฑ์การคัดกรองไม่สามารถใช้แทนเกณฑ์ในการวินิจฉัยได้ 5. ฐานข้อมูลของโรงพยาบาล หมายถึง ข้อมูลจาก ICD 10 และ/ หรือฐานข้อมูลอื่น ๆ ของแต่ละโรงพยาบาล ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง เป็นภาวะวิกฤตที่มีความสำคัญพบว่าอัตราอุบัติการณ์มีแนวโน้มสูงขึ้นและอัตราเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังพบว่าแนวโน้มของเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอกจากนี้ยังพบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้แก่ ภาวะช็อก,ไตวาย การทำงานอวัยวะต่างๆ ล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลกรงปินัง จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย คัดกรองเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนการติดเชื้อในกระแสเลือด ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ปี 2565 เพื่อให้ประชาชนและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจในการคัดกรองเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เพื่อการรักษาได้ทันท่วงที

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรอบรู้ (health literacy) เกี่ยวกับการป้องกัน ภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ดูแลกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด มีความรู้และทักษะในการดูแล ป้องกันและเฝ้าระวังอาการติดเชื้อ ระบบต่าง ๆ

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ได้รับการคัดกรองภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด รวดเร็ว

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 20,850.00 0 0.00
18 ก.ค. 65 การคัดกรอง การประเมิน SOS Score เพื่อการคัดกรองและเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 50 5,750.00 -
15 ส.ค. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้สำหรับประชาชน แกนนำสุขภาพ อสม.ม.7 50 15,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนที่มีอาการติดเชื้อเข้าถึงบริการได้เร็ว ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหรือ ก่อนมีภาวะวิกฤตจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ได้รับการดูแล ป้องกันการติดเชื้อในระบบต่าง ๆ
  3. ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเร็วก่อนมีอาการรุนแรง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2565 14:50 น.