กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หมู่ที่ 4 ตำบลมะกรูด ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65 – L2985 – 02 - 19
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลมะกรูด
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2565 - 31 ธันวาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,923.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอีสะ เหมสนิท
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะกรูด อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.738,101.119place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 ก.ค. 2565 31 ธ.ค. 2565 20,923.00
รวมงบประมาณ 20,923.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการได้รับข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของหมู่ที่ 4 ตำบลมะกรูด ปี 2565 ในกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป เป็น โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 78 คน โรคเบาหวาน 24 คน โรคไต จำนวน 42 คน (ข้อมูลจาก : ศูนย์สุขภาพชุมชนมะกรูด) และจากการคัดกรองสุขภาพประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไป ประจำปี 2564 จำนวน 390 คน พบว่า เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จำนวน 65 คน สาเหตุเกิดจากสภาพสังคมปัจจุบัน การดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน ต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ขาดการออกกำลังกาย ประชาชนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การรับประทานอาหารจานด่วน การซื้ออาหารถุง รับประทานอาหารที่ปรุงสำเร็จ ในอาหารเกือบทุกชนิดจะใช้เกลือแกง ผงชูรส น้ำมัน น้ำตาล เป็นองค์ประกอบ การบริโภคเกลือ ผงชูรส ไขมัน น้ำตาล ในปริมาณสูง ในระยะยาวอาจ ส่งผลให้เกิดโรค เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือโรคไต ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งการให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชนได้รับรู้ว่า ในอาหาร 1 จาน ที่เรากำลังจะกินไปนั้นมีปริมาณเกลือผงชูรส ไขมัน น้ำตาล เท่าใด ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการรณรงค์ลดการบริโภค ความหวาน มัน เค็มได้
  ดังนั้น ทางอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลมะกรูด มองเห็นถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ที่จำเป็นต่อสุขภาพของคนในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน หมู่ที่ 4 ตำบลมะกรูด ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

80.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง สามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ลดลง หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติได้

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการ มีระดับความดันโลหิต และระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ลดลง หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติได้ หลังเสร็จสิ้นโครงการ

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง สามารถลดระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ลดลง หรืออยู่ในเกณฑ์ปกติได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

15 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และกิจกรรมกลุ่ม 65.00 13,290.00 -
1 ต.ค. 65 - 14 มี.ค. 66 กิจกรรมติดตามผล 65.00 7,633.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. เขียนโครงการฯ และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ
  2. ประชุมเพื่อกำหนดวัน เวลา สถานที่ จัดอบรม และประสานงานกับวิทยากร
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
  4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร สื่อที่ใช้ในการอบรม
  5. ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมแบ่งเป็นดังนี้   5.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภคอาหาร การลดหวาน มัน เค็ม
      5.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้   5.3 กิจกรรมติดตามผลค่าความดันโลหิตและเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง หลังเสร็จสิ้นโครงการ
  6. สรุปและประเมินผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เรื่องภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อื่นๆ
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย
  3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 14:11 น.