กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสอง
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศาลาสอง
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 23,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแวนาปีเสาะ สาเมาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.821,101.311place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

รัฐบาลไทยได้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยตามช่วงวัย โดยให้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงกลาโหม รวมถึงองค์กรหลักอื่นๆ และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ร่วมรับผิดชอบช่วยผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายเด็กปฐมวัย ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประสานความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนของสังคม โดยเน้นให้ครอบครัวเป็นแกนหลักในการพัฒนาเด็กและให้ชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในการพัฒนาเลี้ยงดูเด็กทุกขั้นตอน ให้มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เติบโตขึ้นเป็นคนไทยที่พึงประสงค์เพื่อเป็นทั้ง คนดี คนเก่ง มีความสุข และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติ แต่สถานการณ์ปัญหาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย (0-5 ปี) ที่ผ่านมากลับพบว่า เด็กปฐมวัยร้อยละ 30 หรือ 1 ใน 3 ของเด็กปฐมวัย ในประเทศไทยมีแนวโน้มพัฒนาการล่าช้า โดยเฉพาะด้านการใช้ภาษา รองลงมาคือการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ซึ่งทักษะทั้งสองด้านเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาสมองและจะส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไป   จากการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (อายุ 0 - 5 ปี) เมื่อ พ.ศ. 2557 พบว่า เด็กอายุ0 - 2 ปี มีพัฒนาการล่าช้า 22% และเด็กอายุ 3 - 5 ปี มีพัฒนาการล่าช้า 34% ปัจจัยสำคัญคือความล่าช้าทางด้านภาษา ส่งผลให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ เด็กไทย ป.4 - ป.6 ประมาณ 10 - 15% จึงอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้และคิดไม่เป็น และอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ได้ผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพด้อยกว่าที่ควร เด็กอายุ 3 - 5 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์เด็กเล็กที่พ่อแม่เอาไปฝากเลี้ยง ผู้ดูแลเด็กได้รับค่าตอบแทนต่ำ และภาษาที่ 2 ไม่ได้รับการเอาใจใส่ ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือยังมีเด็กอีกหลายคนไม่มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในศูนย์เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่ถูกพ่อแม่ทิ้งให้ปู่ย่า ตา ยาย เลี้ยงดูอย่างขาดความรู้สอดคล้องกับหลักฐานที่ระบุว่าพัฒนาการล่าช้าส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากความเครียดรุนแรง (Toxic Stress) ที่เกิดจากการที่เด็ก ถูกทอดทิ้งหรือทำร้ายร่างกาย การลงทุนของท้องถิ่นและรัฐบาลเพื่อป้องกันแก้ไขสาเหตุ และส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยอย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีผลดีต่อการสร้างคนที่มีประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างมาก การฝึกสอนให้เด็กมีความรู้อย่างเดียวไม่พอ เด็กต้องมีความเฉลียวฉลาด อุปกรณ์ประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย DSPM นี้จึงมีการฝึกทักษะ EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ เพื่อให้เด็กได้มีพัฒนาการที่สมวัย มีการเรียนรู้ที่เหมาะสมตามวัย ไม่ได้เกิดการพัฒนาการล่าช้า ศูนย์พัฒนาการศึกษาปฐมวัยเทศบาลตำบลนาทวี ได้ตระหนักและมองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวข้างต้น หากไม่ดำเนินการจะส่งผลให้การเรียนไม่มีประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา จึงได้ร่วมมือกับผู้ปกครอง จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองผ่านกิจกรรมการสาธิตการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กตามเครื่องมือตัวชี้วัดตามคู่มือเฝ้าระวังและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ดำเนินการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กที่บกพร่องในพัฒนาการ เพื่อส่งต่อไปยังโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อรับการแก้ปัญหาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

เด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองและครู มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามช่วงวัย

ผู้ปกครองและครูมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 127 23,550.00 2 23,550.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โดยการ เคลื่อนไหวเข้าจังหวะ (เต้น)ก่อนเข้าเรียน 57 8,000.00 8,000.00
14 ก.ย. 65 กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมตามวัย 70 15,550.00 15,550.00
  1. ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดรูปแบบของกิจกรรม   2. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯเพื่อขออนุมัติสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน   3. ประสานคณะครูและผู้ปกครอง เพื่อดำเนินโครงการ   4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ   5. จัดกิจกรรม ดังนี้
        5.1 จัดกิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องการเสริมพัฒนาการเด็กที่เหมาะสมตามวัย     5.2 จัดกิจกรรม ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย โดยการ เคลื่อนไหวเข้าจังหวะ (เต้น) ก่อนเข้าเรียน     6. ประเมินผลการดำเนินโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กได้รับการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย 2.ผู้ปกครองและครูมีความรู้ ความเข้าใจในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กตามวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2565 15:21 น.