กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก
รหัสโครงการ 65-L4153-003-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแล
วันที่อนุมัติ 29 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 14,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวแอเสาะ โต๊ะอุง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกายูบอเกาะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 31 ส.ค. 2565 14,550.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 14,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล การส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีของเด็กช่วงอายุ 0-3 ปี จะต้องเริ่มจากแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะฟันของลูกเริ่มสร้างขณะที่ลูกอยู่ในครรภ์ของแม่ ภาวะโภชนาการและสุขภาพของแม่ จึงส่งผลโดยตรง ต่อพัฒนาการการสร้างฟันของลูกขณะที่อยู่ในครรภ์นั่นเอง โรคฟันผุเป็นโรคติดเชื้อ เนื่องจากสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถถ่ายทอดเชื้อจากแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กสู่ลูกได้ การเกิดฟันผุในน้ำนมมีปัจจัยทีเกี่ยวข้องสอดคล้องกับฟันแท้ แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เพราะเป็นฟันผุที่เกิดกับเด็กในช่วงอายุน้อย ซึ่งอยู่ในระหว่างการพัฒนาหลายด้าน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมได้แก่ ฟัน อาหาร จุลินทรีย์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ซึ่งมารดามีบทบาทสำคัญต่อภูมิคุ้มกันของลูก ผลกระทบของการมีฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะเกิดความเจ็บปวด การติดเชื้อและปัญหาการบดเคี้ยวแล้ว ยังมีผลต่อน้ำหนัก และการเจริญเติบโตของเด็ก บุคลิกภาพที่ขาดความมั่นใจในตนเอง และอาจมีผลต่อการเกิดฟันผุและพัฒนาการของฟันแท้ด้วย นอกจากนี้พบว่า เด็กที่มีฟันน้ำนมผุ โอกาสที่ฟันแท้จะผุมีมากกว่าเด็กที่ไม่มีฟันน้ำนมผุสาเหตุการเกิดโรคฟันผุส่วนใหญ่ในเด็กก่อนวัยเรียน เกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง การทำความสะอาดช่องปาก ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา อาชีพ ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพ ทัศนคติกับการตระหนักถึงสุขภาพช่องปาก รวมถึงสุขภาพช่องปากของพ่อแม่ ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นหนึ่งในปัจจัยทางชีวภาพด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัย ซึ่งจากการศึกษาของกรมอนามัย เรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยล่าสุด พบว่าเด็กปฐมวัยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีโอกาสที่จะพัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น 1.43 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก และจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย ยังคงพบความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 52.9 มีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 2.8 ซี่/คน สาเหตุที่เด็กก่อนวัยเรียนมีสภาวะฟันน้ำนมผุสูงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ พฤติกรรมการเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูดนมขวดคาปาก การปล่อยให้เด็กหลับคาขวดนมเป็นประจำ การไม่ดูดน้ำตามหลังดูดนมการทำความสะอาดช่องปากไม่สม่ำเสมอ เด็กกลุ่มนี้มีอัตราการผุ ถอน อุด เป็นด้าน โดยเฉลี่ยสูงกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูในทางตรงข้าม เด็กที่ถูกเลี้ยงโดยพี่เลี้ยง ญาติหรือฝากคนอื่นเลี้ยงมีอัตราเฉลี่ย ผุ ถอน อุด สูงกว่าเด็กที่มารดาเลี้ยง การชอบรับประทานของหวาน การแปรงฟันน้อยกว่าวันละ ๒ ครั้ง หรือไม่แปรงฟันเลย และการที่เด็กไม่เคยพบทันตแพทย์เลย มีผลต่อการเกิดฟันผุของเด็กวัยนี้เช่นกัน การให้ความรู้ในกลุ่มผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของเด็กวัย 0-3 ปี จากการสำรวจข้อมูลทางทันตสุขภาพเด็กนักเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแล จำนวน 81 คน พบว่ามีเด็กที่มีสุขภาพฟันที่ต้องได้รับการดูแลประมาณ 30 คน แสดงให้เห็นว่าเด็กนักเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแล ไม่สามารถทำความสะอาดช่องปากได้ดีเท่าที่ควร การป้องกันฟันผุในเด็กเล็กที่ง่ายและได้ผลดีที่สุด คือ ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้เด็กตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้นด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ และแปรงฟันให้ต่อเนื่องจนกว่าเด็กมีพัฒนาการข้อมือที่แข็งแรง ประมาณอายุ 7-8 ปี เด็กจึงจะสามารถแปรงฟันได้เอง โดยมีผู้ปกครองเน้นเรื่องความสะอาดและการแปรงฟันเป็นประจำจนเป็นนิสัย การให้ความรู้ความเข้าที่ถูกต้องกับผู้ปกครองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถแนะนำวิธีที่ถูกต้องในการรักษาดูแลฟันและช่องปาก นอกจากนี้ ควรนำเด็กปฐมวัยไปรับการตรวจคัดกรองสภาวะโรคฟันผุโดยทันตบุคลากร หากประเมินแล้วพบว่าเริ่มมีความเสี่ยงฟันผุ จะได้รับคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง และนัดตรวจติดตามเป็นระยะ ๆ ทุก 3 เดือน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลาสมีแลได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันสวย ยิ้มสดใส ใส่ใจสุขภาพช่องปาก ปีงบประมาณ ๒๕๖5 ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ๐-๓ ปี รู้จักและเข้าใจขั้นตอนการแปรงฟัน ดูแลช่องปากที่ถูกต้องถูกวิธี 3. เพื่อให้เด็ก ๐-๓ ปีในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์เฉพาะที่
  1. ผู้ปกครองมีระดับความรู้ในการดูแลทันตสุขภาพเด็ก0-3 ปี ที่ถูกต้อง ในระดับดี ร้อยละ 80 ขึ้นไป
  2. ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันเด็ก 0-3 ปี ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
  3. เด็กอายุ 0-3 ปี ได้รับการทาฟูลออไรค์วานิช ร้อยละ 100
1.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการรักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก ๐-๓ ปี รู้จักและเข้าใจขั้นตอนการแปรงฟัน ดูแลช่องปากที่ถูกต้องถูกวิธี 3. เพื่อให้เด็ก ๐-๓ ปีในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากและทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ส.ค. 65 - 31 ก.ค. 65 กิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการ 14,550.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กเล็ก 0-3 ปี มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่องปากและฟัน
  2. ผู้ปกครองเด็กเล็ก 0-3 ปี สามารถแปรงฟันให้ลูกได้อย่างถูกวิธี
  3. ผู้ปกครองเด็กเล็ก 0-3 ปี สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดขยายผลต่อเพื่อนและผู้ใกล้ชิดได้อย่างถูกต้อง 4.เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก
    5.เด็ก 0-3 ปี ที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ได้รับคำแนะนำ และส่งต่อมารับการรักษาที่จำเป็นที่โรงพยาบาลได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 00:00 น.