กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรวมพลัง ร่วมใจ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ หมู่ที่ 3 บ้านดุหุน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8429-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ ๓ บ้านดุหุน
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 25 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดุลย์ บุญญา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.569505428,99.33580733place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 25 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคติดต่อ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดต่อหลายชนิด เนื่องจากเชื้อโรคจะมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น เจริญเติบโตได้รวดเร็ว สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็ว เช่น โรคติดต่อทางระบบหายใจ โรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ (มือเท้าปาก,ฉี่หนู) โดยประชาชนจะทราบถึงสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้ความระมัดระวังและป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อโรค โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว    และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนในพื้นที่จะต้องรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ จึงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสุขภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคท้องถิ่นและภาคประชาชน วางแผนป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในชุมชน โดยการดำเนินงานในลักษณะ “ร่วมคิด ร่วมวางแผน          ร่วมดำเนินการ ร่วมประเมินผล และร่วมรับผิดชอบ” ในทุกระดับ เพื่อช่วยกันค้นหาปัญหา จึงจะสามารถแก้ไขต้นตอของปัญหาการเกิดโรค ประชาชนจะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ชุมชนได้ภายใต้ศักยภาพของตนเองนั้น
      ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ ๓ จึงได้มีแนวทางจัดทำโครงการรวมพลัง ร่วมใจ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖5 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน และเฝ้าระวังและลดการเกิดโรคติดต่อในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และภัยสุขภาพในชุมชน

ประชาชนได้รับความรู้ ความเข้าใจ เฝ้าระวังโรค การควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ และภัยสุขภาพในชุมชน

84.25
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 จัดอบรมโครงการรวมพลัง ร่วมใจ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประจำปี 2565(1 ส.ค. 2565-31 ส.ค. 2565) 15,000.00      
รวม 15,000.00
1 จัดอบรมโครงการรวมพลัง ร่วมใจ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประจำปี 2565 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 15,000.00 1 15,000.00
3 ส.ค. 65 จัดอบรมโครงการรวมพลัง ร่วมใจ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ประจำปี 2565 - ให้ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ เช่น โรคติดต่ออุบัติใหม่ โรคมือเท้าปาก โรคไวรัสโคโรน่า COVID- 19 โรคติดต่ออื่นที่พบในชุมชน และภัยสุขภาพในชุมชน - การดูแลดูแลตนเองไม่ให้เจ็บป่ว 80 15,000.00 15,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยที่เกิดจากโรคติดติดต่อในพื้นที่ ๒. มีภาคีเครือข่ายการดำเนินงานการป้องกันโรคในชุมชนเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 10:49 น.