กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 1)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 65 – L7452 – 1 - 1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 5 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 24,135.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชัญญาภัค คงสกุล เภสัชกรปฏิบัติการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเขตเทศบาลนครยสะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตาม พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ จำนวน ๔ ภารกิจ คือการผลิตสื่อและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้ในการบริโภคและเรียกร้องสิทธิอันชอบธรรม การสร้างและขยายเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของผู้บริโภคในท้องถิ่น และการตรวจสอบด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 6 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหาร ยาวัตถุเสพติด เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง และวัตถุอันตรายที่ใช้บ้านหรือทางสาธารณสุข ปัจจุบันกระแสการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากประชาชนหันมาสนใจการดูแลสุขภาพ โดยประชาชนมักแสวงหาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตามที่ต้องการจากทั้งโรงพยาบาล คลินิก ร้านชำ ตลาดนัดหรือรถเร่ รวมทั้งทางสื่อออนไลน์ มีทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานรับรองจาก อย. ประกอบกับการสื่อสารที่สะดวกรวดเร็วขึ้น สามารถรับข่าวสารด้านการโฆษณาหลากหลายช่องทาง ซึ่งบางครั้งมีการหลอกลวงหรือโอ้อวดเกินจริง โดยจากการดำเนินงานของศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ประจำปี 2563 พบว่า มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ เข้าข่ายผิดกฎหมาย 150 ผลิตภัณฑ์ และจากสถิติรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคในระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำเดือน กันยายน - พฤศจิกายน 2564 พบเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภค ประเภทผลิตภัณฑ์สุขภาพ เวชภัณฑ์ยา และอาหารเสริม จำนวน 68 เรื่อง ทั้งนี้ นายแพทย์บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมอาหารและยา (อย.) ได้รับรายงานปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อความงามในปัจจุบันพบว่า ผู้บริโภคที่ได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอางทาสิวฝ้า หน้าขาว ที่ผสมสารห้ามใช้ สารปรอท ทำให้เกิดการแพ้ผื่นแดง ผิวหน้าดำ ผิวบางลง เกิดพิษสะสมของปรอท ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบและไตอักเสบสารไฮโดรควิโนน ทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคือง เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวร รักษาไม่หายและกรดเรทิโนอิกหรือ กรดวิตามินเอ เมื่อใช้แล้วเกิดอาการหน้าแดง ระคายเคือง แสบร้อนรุนแรง เกิดการอักเสบ ผิวหน้าลอกอย่างรุนแรง และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ (เจาะลึกสุขภาพ, 2557) รวมทั้ง ปัญหาการปลดล็อคสารเสพติด กรณีการใช้ใบกระท่อมในระยะยาวส่งผลต่อจิตใจและระบบประสาท และหากใช้ใบกระท่อมเป็นประจำอาจมีผลข้างเคียง เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกกระวนกระวาย สับสน เซื่องซึมเคลื่อนไหวช้า ร่าเริงผิดปกตินอนไม่หลับ หรือร่างกายตื่นตัวตลอดเวลา ไตเกิดความเสียหาย ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มมาก ผิวหนังเป็นสีเหลือง เกิดจากตับทำงานอย่างหนักในการกรองสารพิษออกจากร่างกาย รวมทั้งการกัญชาที่มีปัญหาเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากข้อมูลจะเห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่มักเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากการโฆษณาและบุคคลรอบข้างโดยยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง และอาจเกิดอันตรายจากผลิตภัณฑ์นั้นๆได้ นอกจากนี้ จากการสำรวจร้านชำในเขตเทศบาลนครยะลา ปี 2563 จำนวน 413 ร้าน พบร้านชำที่ขายยามีจำนวน 86 ร้าน ที่สำคัญพบร้านชำขายยาไม่ถูกต้อง จำนวน 13 ร้าน คิดเป็นร้อยละ 15.17 (รายงานจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา, 2564)
ดังนั้น การเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และรู้จักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง งานเภสัชกรรม เทศบาลนครยะลา จึงได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคด้านความรู้และการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย ในพื้นที่เขตเทศบาลนครยะลา ประจำปีงบประมาณ 2565 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย

ผู้เข้าอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรมมากกว่าร้อยละ 80 (วัดจากแบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม)

80.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องมากกว่าร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 90 ของผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 24,135.00 0 0.00
23 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมความรู้และการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย 0 24,135.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมสามารถถ่ายทอดความรู้ ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่ผู้คนรอบข้างและประชาชนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 13:21 น.