กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 65 – L7452 – 2 – 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 59,802.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนิดา อินทจันทร์ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 191 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) การพัฒนาชาติที่สำคัญ คือการพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืนอันดับแรกของการพัฒนาตน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจอารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรม และจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะวัยเรียน เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโต หากพ่อแม่สร้างสิ่งแวดล้อมต่าง ๆให้เหมาดสม สมองของเขาก็เจริญเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มที่ ความสมบูรณ์ของสมองในช่วงนี้สำคัญคือรากฐานสำคัญของชีวิตและความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ของคนเราเมื่อเติบโตขึ้น เด็กนักเรียนจึงเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโดที่มีความต้องการสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้เด็กมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถ้าเด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อาหารเช้าจึงสำคัญ การทานอาหารเช้าที่ส่งผลดีต่อทั้งสุขภาพ สุขภาพจิต และพลังสมองของเด็กๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าอย่างเพียงพอและมีคุณภาพมีสมาธิ และสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเด็กที่ไม่กินอาหารเช้าและจะทำให้เป็นเด็กฉลาดและเก่งขึ้นซึ่งสอดคล้องกับราชกิจจานุเบกษา ประกาศคณะอนุกรรมการและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 กิจกรรมบริการสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ตามประกาศแนบท้าย ลงวันที่ 28 มีนาคม 2557 ข้อ 3 กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน และระเบียบกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครยะลา เรื่องการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2559 ข้อ (1) ดังนั้น อาหารมื้อเช้าจึงเป็นอาหารมื้อแรกของวันที่สมควรได้รับแต่ด้วยปัจจุบันการใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองรีบไปทำงานมื้อเช้าของเด็กๆคือขนมจากร้านค้าใกล้บ้าน ซึ่งไม่มีประโยชน์และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยเจริญการเติบโตทำให้เด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย และขาดสารอาหารสำคัญมื้อแรกจากปัญหาดังกล่าว สถานศึกษาจึงเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของนักเรียนทุกคน ให้มีคุณภาพด้านร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดี
จากข้อมูลผลการดำเนินงานการประเมินภาวะโภชนาการในโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 มีเด็กนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 191 คน แยกเป็นเด็กปฐมวัยอายุ 0-5 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 73 คน คิดเป็นร้อยละ 38.22 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 53.42 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.07 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 4.11 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 1.37 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 (เกณฑ์เตี้ย ร้อยละน้อยกว่า 10) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ท้วม 9 คน คิดเป็นร้อยละ 12.33 ค่อนข้างผอม 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และค่อนข้างเตี้ย 7 คน คิดเป็นร้อยละ 9.59 และเด็กประถมศึกษา อายุ 6-18 ปี ที่ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 91 คน คิดเป็นร้อยละ 47.64 พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54 (เกณฑ์สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 65) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 21.97 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 3 คน คิดเป็นร้อยละ 30.29 (เกณฑ์ผอมร้อยละ น้อยกว่า 5) อ้วนและเริ่มอ้วน 13 คน ร้อยละ 14.29 (เกณฑ์อ้วนและเริ่มอ้วนร้อยละน้อยกว่า 10)และเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.29 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 5) เด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 16 คน เช่น ท้วม 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5.49 ค่อนข้างผอม 8 คนคิดเป็นร้อยละ 8.79 และค่อนข้างเตี้ย 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ส่วนข้อมูลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา อายุ 0-5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการทั้งหมด 27 คน พบว่าเด็กมีสูงดี-สมส่วน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 59.26 (เกณฑ์ สูงดี-สมส่วน ร้อยละมากกว่า 64) ภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 5 คน คิดเป็น ร้อยละ 18.52 ซึ่งสามารถแยกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผอม 0 คน คิดเป็นร้อยละ 0 (เกณฑ์ผอมร้อยละน้อยกว่า 5) อ้วน 3 คน ร้อยละ 11.11 (เกณฑ์อ้วนร้อยละน้อยกว่า 9) และเตี้ย 2 คน ร้อยละ 7.41 (เกณฑ์เตี้ยร้อยละน้อยกว่า 10) และเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน6 คน คิดเป็นร้อยละ 22.22 เช่น ท้วม 4 คน คิดเป็นร้อยละ 14.81 ค่อนข้างผอม 2 คน คิดเป็นร้อยละ 7.41 และค่อนข้างเตี้ย 0 ซึ่งจะเห็นได้ว่าภาวะสูงดี-สมส่วน ทุกกลุ่มอายุไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และมีภาวะทุพโภชนาการประเภทขาด (ผอม เตี้ย) และเกิน (อ้วน เริ่มอ้วน) จากการดำเนินงานโครงการอิ่มท้อง สมองใส โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี พ.ศ. 2563 โดยการจัดอาหารเช้าให้เด็ดที่มีภาวะทุพโภชนาการแบบขาด (ผอม เตี้ย) เด็กทุกคนมีน้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น ร้อยละ 100 ส่งผลให้กลุ่มเด็กสูงดี-สมส่วน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 86.66 (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 64) ดังนั้นโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวในข้างต้น จึงจัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันภาวะทุพโภชนาการนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเมืองยะลา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเมืองยะลา ประจำปี 2565 ขึ้น เพื่อให้เด็กนักเรียนที่ปัญหาทุพโภชนาการในโรงเรียนได้รับประทานอาหารเช้าที่มีสารอาหารครบทุกหมู่ เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสมาธิปัญญาฉลาดสมวัย ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

ร้อยละ 100 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณภาพ มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่ ทุกคน

100.00
2 เพื่อให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการมีภาวะโภชนาการสมวัย มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการสมวัย และมีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน

80.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า

ร้อยละ 85 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญในการบริโภคอาหารมื้อเช้า

85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 59,802.00 0 0.00
6 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โภชนาการสมวัย 0 18,802.00 -
6 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการ 0 40,500.00 -
6 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 3 ติดตามประเมินผลภาวะโภชนาการสมวัย (น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน) 0 0.00 -
30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน 0 500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ มีน้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐาน
  3. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2565 14:22 น.