กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดตัวอ่อน ทำลายตัวแก่ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 65-L8423-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพสต.บาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 16 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 40,925.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูซนา เจ๊ะฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่เป็นปัญหาเกือบทุกปี จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้โรคไข้เลือดออกเริ่มระบาดหนักในทุกพื้นที่อันเนื่องด้วยปัจจัยต่างๆที่เอื้อผลต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค สภาพอากาศฝนตกตลอดทั้งปีเอื้อหนุนต่อการเกิดน้ำขังตามภาชนะต่างๆเป็นแหล่งวางไข่ของยุงลาย ตามปริมาณของยุงลายที่เพิ่มประชากรในทุกขณะ ซึ่งหมายถึง Agent ที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับ Environment ที่เอื้อต่อการเกิดโรค ประจวบเหมาะกับ Host ที่ร่างกายอ่อนแอไปทุกวัน ขาดการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรค การขาดความตระหนักในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เหมือนกับเป็นวงจรที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และยากต่อการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งนี้ความสูญเสียจากโรคไข้เลือกออกมีความรุนแรงตามพยาธิสภาพของโรคที่อาจเกิดภาวะช็อกและถึงแก่ชีวิตได้ หากยิ่งขาดความตระหนัก ขาดการควบคุม ดูแลหรือการเร่งรัดมาตรการป้องกันอาจจะเกิดการสูญเสียมากขึ้น อัตราป่วยและอัตราตายก็จะเพิ่มมากขึ้นตามกัน
ประชาชนในพื้นที่ตำบลบาโงสะโต ประสบปัญหาโรคไข้เลือดออกทุกปีโดยพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกตามรายงานโรคที่ต้องเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ๕ ปีย้อนหลัง ดังนี้ พบว่าปี ๒๕๖๐ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๕๙.๐๕ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖๑ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๗๙.๕๒ ต่อแสนประชากร ในปี ๒๕๖๒ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๔๘๗.๐๘ ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๖๓ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๑๑๙.๒๘ ต่อแสนประชากร และในปี ๒๕๖๔ อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ๒๔.๖๙ ต่อแสนประชากร ซึ่งการระบาดของโรคไข้เลือดออกย้อนหลัง ๕ ปีถ้าวัดตามแนวโน้มและลักษณะการระบาดของโรคทุกปี และอัตราการเกิดโรคในแต่ละปี เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากรซึ่งไม่ผ่านตัวชี้วัดที่กระทรวงกำหนด ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวนี้ทางอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 5 จึงได้จัดทำ โครงการกำจัดตัวอ่อน ทำลายตัวแก่ป้องกันการแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออก เพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ร้อยละ ๖๐

0.00
2 เพื่อลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สามารถควบคุมดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่า BI < ๕๐,HI < ๑๐,CI = ๐) โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

ลดจำนวนแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย สามารถควบคุมดัชนีความชุกลูกน้ำยุงลายอยู่ในเกณฑ์ปกติ (ค่า BI < ๕๐,HI < ๑๐,CI = ๐)

0.00
3 เพื่อสร้างความตระหนักและปลุกกระแสให้ประชาชนในพื้นที่ทุกคนตื่นตัว

ประชาชนมีการพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดี ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง ๒. อสม.มีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่ชุมชนได้     ๓. ประชาชนมีการพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ค. 2565 14:41 น.