กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “ สุขพอเพียง ชะลอชรา ชีวายืนยาว” (ประเภทที่ 2)
รหัสโครงการ 65 – L7452 – 3 - 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มแกนนำผู้สูงอายุและอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,505.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนันทนัช ชัยขันธ์ แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ประเทศไทยได้เข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 โดยเป็นอันดับสอง ของภูมิภาคอาเซียน รองจากประเทศสิงคโปร์ คาดการณ์ว่าจะเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ หรือมี ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมดในปี 2564 และเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด คือ มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ใน ปี 2576 และร้อยละ 31.4 ในปี 2583หรือกล่าวได้ว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีประชากร ผู้สูงอายุ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ และ มากกว่าครึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป (คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข)
จากรายงานมิเตอร์ประเทศไทย มหาวิทยาลัยมหิดล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ 12.51 ล้านคน หรือร้อยละ 18.77 สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ข้อมูลจากระบบรายงานกระทรวงสาธารณสุข (HDC) ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ.2562-2564) พบสัดส่วนประชากรสูงอายุ ร้อยละ 14.7, 15.2 และ 15.8 ตามลำดับ โดยจังหวัดที่มีสัดส่วนประชากรสูงอายุสูงที่สุด และเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) คือ จังหวัดพัทลุง ร้อยละ 22.3 รองลงมา ได้แก่ จังหวัดตรัง ร้อยละ 18.8 และจังหวัดสงขลา ร้อยละ 17.8 ส่วนจังหวัดยะลา ร้อยละ 12.60 ในเขตเทศบาลนครยะลาผู้สูงอายุร้อยละ 13.90 ตามลำดับ (จากข้อมูล HDC จังหวัดยะลา ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2565)ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลาได้รับการประเมินศักยภาพตามความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน (ADL) ร้อยละ 93.17 เป็นกลุ่มติดสังคม ร้อยละ 91.69 กลุ่มติดบ้าน ร้อยละ 0.96 กลุ่มติดเตียง ร้อยละ 0.51 โรคที่ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองและมีความเสี่ยงและเสี่ยงสูง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 6.67 โรคเบาหวาน ร้อยละ 6.13 โรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 33.84 ส่วนสถานการณ์ความเสี่ยงต่อภาวะหกล้ม ย้อนหลัง3 ปี (พ.ศ.2562-2564) พบว่า ผลการคัดกรองภาวะหกล้ม พบผิดปกติ มีแนวโน้มลดลง คือ ร้อยละ 4.1, 3.9 และ 3.4 ตามลำดับ การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ พบว่า ในจังหวัดยะลาผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ 8 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 31.07 พฤติกรรมที่ผู้สูงอายุ ปฏิบัติได้น้อยที่สุด ได้แก่ การมีกิจกรรมทางกาย > 150 นาที ต่อ สัปดาห์ ร้อยละ51.9 กินผัก/ผลไม้ 5 ทัพพี ทุกวัน ร้อยละ 54.7 ดื่มน้ำเปล่า อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพียงร้อยละ58.4 นอกจากนี้ ในประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งหมายถึง “ทักษะทางปัญญาและสังคมของบุคคลในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูล เพื่อตัดสินใจดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม”(วิมล โรมา และสายชล คล้ายเอี่ยม. 2562 : 3)โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุมีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอถึงร้อยละ 39.8 ซึ่งจากผลการศึกษา ความสัมพันธ์ของความรอบรู้ ด้านสุขภาพกับสภาวะทางสุขภาพ พบว่า บุคคลที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับไม่เพียงพอ จะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงขึ้น มีการเข้ารับการรักษาในภาวะฉุกเฉิน และเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลบ่อยมากกว่าบุคคลที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับที่เพียงพอ (AHRO, 2011; Berkman, Sheridan, Donahue, Halpern, & Crotty, 2011)ผู้สูงอายุที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำ หรือจำกัด จะมีแนวโน้มของการมีสุขภาพไม่ดี มีโอกาสเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว (Wolf, Gazmararian, & Baker, 2005) ความดันโลหิตสูง และข้ออักเสบเพิ่มขึ้น รวมทั้งรับรู้/ รู้สึกว่า ตนเองมีสภาวะทางสุขภาพโดยเฉพาะด้านร่างกาย ซึ่งส่งผลทำให้เกิดภาวะพลัดตกหกล้มได้ (Functional health status) ลดลง (Kim, 2009 อ้างถึงใน วิมลรัตน์ บุญเสถียร และ อรทัย เหรียญทิพยะสกุล. 2563) ดังนั้น การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีปัญหาความเจ็บป่วยลดลง มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลและยังส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองและ ใช้ชีวิตอย่างปกติสุขตามศักยภาพ
ดั้งนั้น แกนนำผู้สูงอายุในชุมชนจึงตระหนักถึงสถานการณ์และความสำคัญดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “สุขพอเพียง ชะลอชรา ชีวายืนยาว” เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้งอายุในชุมชน ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้สูงอายุ พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายเพื่อลดโอกาสการหกล้มของผู้สูงอายุ ให้มีส่วนร่วมในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและภัยสุขภาพ ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตัวเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรอบรู้ด้านโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพทีถูกต้อง
  1. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ด้านโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น
80.00
2 2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ Blue Book Application (สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ) ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพตนเองได้
  1. ร้อยละ 80 ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ Blue Book Application (สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ) ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพได้ถูกต้อง
  2. ร้อยละ 80 ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อการอบรม
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,505.00 0 0.00
6 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ประเมินสุขภาพด้วยตนเองแบบง่ายๆ โดยใช้ Blue Book Application (สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ) จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 คน รวม 55 คน 0 15,505.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านโภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. ผู้เข้ารับการอบรมสามารถใช้ Blue Book Application (สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ) เพื่อประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพด้วยตนเองได้ถูกต้อง
  3. เกิดกระแสสังคมในการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงวัยสุขภาพดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2565 08:34 น.