กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคความดันโลหิตสูง มะเร็ง หัวใจและหลอดเลือด
รหัสโครงการ 2561-L3351-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 5,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางหนูอั้น ไข่ทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนาคงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการปฏิบัติตัวที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ประชาชนเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะโรคมะเร็งต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยคนละ ๑ แสนบาทต่อเดือนและพบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากรในโรคมะเร็งทุกชนิด ๑๓๔.๒๑ โรคความดันโลหิตสูง ๘๖๐.๕๓ โรคเบาหวาน ๖๗๕.๗๔ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๙๐๑.๓๑ และสำหรับอัตราการตายต่อแสนประชากรมีดังนี้ โรคมะเร็งทุกชนิด ๘๕.๐๔ โรคความดันโลหิตสูง ๓.๙๐ โรคเบาหวาน ๑๒.๒๒ โรคหัวใจและหลอดเลือด ๕๖.๐๐ (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๕๑)จากผลการเฝ้าระวังการออกกำลังกายและการบริโภคอาหารของประชาชนอายุ ๑๕-๖๐ ปี จำนวน ๑,๕๒๐ คนทั่วประเทศโดยกองสุขศึกษากรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๑ พบว่าประชาชนที่ออกกำลังกายถูกต้องมีเพียงร้อยละ ๓๒.๖การบริโภคผักและผลไม้ไม่น้อยกว่าวันละครึ่งกิโลกรัม มีเพียงร้อยละ ๒๓.๗ และกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำร้อยละ ๑๔.๐
จากข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่หมู่ที่ ๑,๗,๙พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ ๑๒.๔๑ ประกอบกับประชาชนมีการออกกำลังกายน้อยกว่า ๓ วัน /สัปดาห์ทั้งยังบริโภคอาหารมันอาหารเค็มและหวานจัดแต่รับประทานผักน้อยจึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกระดับ รวมทั้งประชาชนอย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ ๓ - ๕ วันๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สด อย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไปหรือกินผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง และลด ละ เลิกอาหารมันจัด เค็มจัด และหวานจัด ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ได้ร้อยละ ๒๐ – ๓๐ และโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อย่างมาก ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว และกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นเทศบาลตำบลโคกชะงาย ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่พฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถพัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีจึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือดหมู่ที่ ๑,๗,๙ตำบลโคกชะงายขึ้นเพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ – ๕วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมัน ลดการกินเค็ม และลดอาหารหวาน

ร้อยละ50 ของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการมีความรู้และมีการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย ๓ – ๕วัน ๆ ละอย่างน้อย ๓๐ นาที ร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้สดวันละอย่างน้อยครึ่งกิโลกรัมขึ้นไป หรือกินผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง ลดอาหารไขมัน ลดการกินเค็ม และลดอาหารหวาน

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง สามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ และวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้

ร้อยละ 50 ของประชาชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายได้อย่างถูกต้อง สามารถบอกปริมาณอาหารที่เหมาะสมกับตนเองได้ และวางแผนการกินเพื่อควบคุมน้ำหนักตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติได้

3 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ

ทุกภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ฯ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 5,000.00 1 5,000.00
17 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 5,000.00 5,000.00

1.สร้างทีมการดำเนินงาน ประสานงานกับภาคีเครือข่าย 2.สำรวจสภาพปัญหา และ พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในชุมชน 3.จัดทำเวทีประชาคมและสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 4.กิจกรรมการเรียนรู้และการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน 5.การสื่อสารและประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างกระแสและการรับรู้ให้ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.มีหมู่บ้านต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน ๓ หมู่บ้าน 2.มีแหล่งเรียนรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน ๑ แห่ง 3.ประชาชนในหมู่ที่ ๑,๗,๙ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองจังหวัดพัทลุง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:33 น.