กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการจัดบริการคลินิกเติมยาใกล้บ้าน
รหัสโครงการ 2561-L3351-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 3,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนา คงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา , แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาโรคเรื้อรังกำลังเป็นภัยคุกคามสุขภาพที่สำคัญของคนไทยเนื่องจากโรคเรื้อรังที่เมื่อเริ่มเป็นแล้วมักไม่หายขาดจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายรุนแรงจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าประชาชนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งโรคเรื้อรังที่พบมากได้แก่โรคหัวใจโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้นทุกปีและจากข้อมูลการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพัทลุงด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆเพิ่มขึ้นทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นและผู้ป่วยเกิดความท้อแท้เหนื่อยหน่ายหมดกำลังใจจากการศึกษาและวิเคราะห์หาสาเหตุพบว่าสาเหตุที่ผู้ป่วยต้องกลับเข้ามารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในเป็นประจำเรียงตามลำดับความสำคัญดังนี้๑) การเดินทางมารับบริการไม่สะดวกทำให้ผู้ป่วยขาดนัดและการรักษาไม่ต่อเนื่อง๒) ผู้ป่วยขาดความรู้มีทัศนะคติและการปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องทำให้การดูแลสุขภาพไม่ถูกต้อง๓) ผู้ป่วยท้อแท้หมดกำลังใจจากการเจ็บป่วยทำให้ละเลยในการดูแลสุขภาพ๔) ญาติครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพน้อย ดังนั้นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลโคกชะงายร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวจึงจัดทำโครงการให้บริการคลินิกผู้ป่วยโรคเรื้อรังโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคเก๊าต์ในพื้นที่เขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาวและใกล้เคียงกำหนดเดือนละ1ครั้งตรงกับวันพฤหัสแรกของทุกเดือนโดยได้รับความร่วมมือจากพยาบาลเวชปฏิบัติเครือข่ายสถานีอนามัยในกลุ่มตะวันตกคือสถานีอนามัยบ้านหูแร่สถานีอนามัยบ้านหัวถนนสถานีอนามัยบ้านนาท่อมให้บริการดูแลผู้ป่วยและกระตุ้นให้ผู้ป่วยญาติชุมชนเห็นความสำคัญและร่วมกันดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความสะดวก รวดเร็ว ในการมารับบริการตามนัดอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความสะดวกรวดเร็วในการมารับบริการตามนัดอย่างต่อเนื่อง

2 เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ ทัศนะคติ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ทัศนะคติและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องทุกคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 3,750.00 1 3,750.00
6 มิ.ย. 61 - 6 ส.ค. 61 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0 3,750.00 3,750.00

.จัดทำทะเบียนแยกกลุ่มผู้ป่วย 2.ประสานงานอสม.เพื่อนัดหมายติดตามผู้ป่วยให้มารับบริการตามนัด 3.ผู้ป่วยโรคเบาหวานแนะนำให้งดน้ำและอาหารหลังเวลา ๒๒.๐๐ น.และนัดให้ผู้ป่วยมารอที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้าน ทุ่งยาว เวลา๐๖.๓๐ น. – ๐๗.๐๐ น.ส่วนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่ต้องงดน้ำและอาหารและแนะนำให้มารับบริการเวลา๐๘.๓๐ น. – ๑๔.๐๐ น. 4.ให้บริการตรวจรักษาและจ่ายยาโดยทีมพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัวเครือข่ายบริการสุขภาพโซนตะวันตก 5.ให้สุขศึกษารายกลุ่มเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.ผู้ป่วยได้รับบริการจากทีมสุขภาพตามนัด 2.ผู้ป่วยได้รับความสะดวกรวดเร็วในการรับบริการ 3.ผู้ป่วยเกิดความตระหนักและมีกำลังใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง 4.ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ทัศนะคติ และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง 5.ลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้ป่วย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:35 น.