กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรควัณโรค
รหัสโครงการ 2561-L3351-02-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนาคงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 340 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis:TB) เป็นโรคติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข เป็นสาเหตุของการป่วยและการเสียชีวิตในหลายๆประเทศทั่วโลก อีกทั้งปัจจุบันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น วัณโรคจึงนับเป็นปัญหาที่ท้าทายต่อวงการสาธารณสุขของประเทศต่าง(กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,2548) วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกมาเป็นระยะเวลานาน ปัจจุบันทั่วโลกยังมีผู้ป่วยและเสียชีวิตจากวัณโรคเป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องหยุดยั้ง เนื่องจากมีผลกระทบต่อความสูญเสียต่อภาวะสังคม เศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคไม่ลดลงเพราะความยากจน แรงงานเคลื่อนย้าย แรงงานต่างชาติ สิ่งแวดล้อมที่แออัด ที่เอื้อต่อการแพร่กระจายเชื้อวัณโรค และผลกระทบจากการระบาดของโรคเอดส์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคมีจำนวนเพิ่มขึ้น อัตราการตายสูง และมีปัญหาเชื้อดื้อยาวัณโรคเพิ่มขึ้น องค์การอนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรครุนแรง (High TB burdencountries) และคาดว่าสถานการณ์วัณโรคของประเทศไทย น่าจะมีผู้ป่วยวัณโรคทุกชนิดทั้งรายเก่าและรายใหม่ (Prevalence) ประมาณ 110,000 ราย หรือ 161 ต่อแสนประชากร ในขณะเดียวกันมีผู้ป่วยรายใหม่ (Incidence)เกิดขึ้นประมาณ 98,000 รายต่อปี หรือ 124 ต่อแสนประชากร และอัตราการตาย (Mortality) 14 ต่อแสนประชากรหรือประมาณ 9,800 ราย(กรมกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข,25425) สอดคล้อกับจำนวนผู้ป่วยในตำบลโคกชะงายที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดย ๕ ปีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2556– 25๖๐ มีจำนวนผู้ป่วยจำนวน๑,๒,๐,๑ และ ๒ รายตามลำดับ (ทะเบียนวัณโรค รพ.สต.บ้านโคกชะงาย) ส่วนการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรควัณโรคของตำบลโคกชะงายที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้าทำให้มีโอกาสในการแพร่เชื้อในชุมชนได้นาน การค้นหาผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุม ผู้ป่วยยังขาดความรู้และการติดตามอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผู้ป่วยทานยาไม่ครบกำหนด ส่งผลทำให้การรักษาผู้ป่วยวัณโรคเกิดการดื้อยา สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกรายงานว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ปีละ 9 ล้านราย แต่เข้าถึงการรักษาเพียง 6 ล้านราย
ดังนั้น เพื่อให้การป้องกันและควบคุมโรคมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อประชาชนและผู้ป่วยในตำบลโคกชะงาย ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายจึงได้ทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรควัณโรคเพื่อคัดกรองหากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรควัณโรคในชุมชน อันจะเป็นแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคและเร่งสร้างความรู้เพื่อเป็นเกราะป้องกันสุขภาพของคนในพื้นที่รับผิดชอบให้ห่างไกลจากวัณโรค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคและญาติมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลตนเอง

1.ประเมินความรู้ก่อนและหลังอบรมให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ100

2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยวัณโรคเข้าถึงการรักษาระบบDOT

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองและติดตามเยี่ยมร้อยละ 100

3 3.เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการรักษา

อัตรารักษาหายขาดร้อยละ100

4 4.เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

ภาคีเครือข่ายมีการบูรณาการป้องกันควบคุมโรควัณโรค

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 1 15,000.00
30 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้ 0 15,000.00 15,000.00

1.ขั้นตอนการวางแผนดำเนินงาน -เสนอแผนงานโครงการเพื่อขออนุมัติ -ประสานห้อง LAb โรงพยาบาลพัทลุง -ประชาสัมพันธ์โครงการ 2.ขั้นตอนการดำเนินงาน -อบรมแกนนำ -ให้ความรู้ประชาชน -คัดกรองวัณโรคกลุ่มเสี่ยง -ติดตามใหสุขศึกษาใน ผู้ป่วยรายใหม่ 3.ขั้ตประเมินผล -ประเมินผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีความรู้และทักษะการคัดกรองวัณโรค ๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค ๓. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับการติดตามรักษาจนครบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:42 น.