กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงเฝ้าระวังเพื่่อการ ลด ละ เลิก สูบบุหรี่โดยพลังชุมชน
รหัสโครงการ 2561-L3351-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกชะงาย
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรีเรืองศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนาคงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบในระบบสุขภาพของประชาชนทั้งทางตรง คือผู้สูบบุหรี่เอง และทางอ้อมผู้ที่รับพิษจากควันบุหรี่ที่ผู้ใกล้ชิดเป็นผู้สูบ คือบุหรี่มือสอง ทั้งที่ประเทศไทยมีการรณรงค์การควบคุมการบริโภคยาสูบเกิดขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2517 แต่ในปี พ.ศ. 2551 บุหรี่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกมากกว่า 5 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรควัณโรค โรคเอดส์ และไข้มาลาเรียรวมกัน และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนต่อปีโดยพบว่ามะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูบบุหรี่ได้แก่มะเร็งปอดที่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชายไทย อีกทั้งการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องจะทำให้ผู้สูบเกิดภาวะหลอดเลือดตีบตันและเกิดปัญหาการสูญเสียการทำงานของหลอดเลือดโคโรนารีที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ การสูบบุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกและหัวใจวายโรคความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นผิดปกติ และได้มีการประมาณการทุกครั้งที่มีผู้สูบบุหรี่เสียชีวิตครบ 8 ราย จะมีผู้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมเสียชีวิตไปด้วย 1 ราย ผู้ที่ได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมจะมีโอกาสเกิดโรคโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนที่ไม่เคยได้รับ 1.3 เท่า และจะมีโอกาสเกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้นประมาณ 1.8 เท่าโดยกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นพิเศษในการได้รับควันบุหรี่จากสิ่งแวดล้อมได้แก่ทารกในครรภ์และเด็กหากมารดาตั้งครรภ์สูบบุหรี่หรือได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์และเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์สูงเช่นทารกน้ำหนักตัวน้อยคลอดก่อนกำหนด เด็กหากได้รับควันดังกล่าวจะมีโอกาสเกิดภาวะไหลตาย ปอดอักเสบติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืดได้มากกว่าเด็กทั่วไป
สำนักงานสถิติแห่งชาติได้สำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ปี 2557 พบว่า จำนวนประชากรมีอายุ ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้สูบบุหรี่ 11.4 ล้านคน (ร้อยละ 20.7 ) เป็นผู้สูบบุหรี่ประจำ 10 ล้านคน (ร้อยละ 18.2 ) สูบนานๆครั้ง 1.4 ล้านคน(ร้อยละ 2.5 ) ในกลุ่มวัยทำงาน (25 – 59 ปี) มีอัตราการสูบบุหรี่สูงสุด (ร้อยละ 23.5 ) รองลงมากลุ่มผู้สูงอายุ (60ปีขึ้นไป) และกลุ่มเยาวชน(15 – 24 ปี)(ร้อยละ 16.6 และ 14.7 ตามลำดับ) ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่าผู้หญิง 18.4 เท่า (ร้อยละ40.5 และ 22 ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2556 พบว่าเพศชายและหญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มสูงขึ้นและทุกกลุ่มมีอายุเฉลี่ยที่เริ่มสูบบุหรี่น้อยลง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน 15-24 ปี เริ่มสูบบุหรี่อายุน้อยลงค่อนข้างมากกว่ากลุ่มอื่นคือจากปี 2550 เยาวชนเริ่มสูบบุหรี่เมื่ออายุ 16.8 ปี ในปี 2557 ลดลงเป็นอายุ 15.6 ชี้ให้เห็นว่า อายุของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มีอายุน้อยลง จึงต้องมีมาตรการเฝ้าระวังในกลุ่มเยาวชนมากขึ้น และในประเทศไทยมีคนเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่คิดเป็น 12 % ของการตายทั้งหมดรัฐบาลสูญเสียทางเศรษฐกิจกับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่ถึง 43.6 พันล้านบาท คิดเป็น 0.5% ของ GDP ถ้ายังไม่มีมาตรการใดๆในการป้องกันและเฝ้าระวังนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ อีกทั้งบุหรี่เป็นเพียงสินค้าชนิดเดียวที่ถูกกฎหมาย แต่เป็นอันตรายต่อทุกคนทั้งที่เป็นผู้สูบบุหรี่ และผู้ไม่สูบบุหรี่ แต่ได้รับควันบุหรี่มือสอง จึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่โดยยึดหลักการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ การแนะนำให้มาบำบัด จัดระบบเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพซ้ำ โดยการสร้างแรงจูงใจ การตระหนักในปัญหา ร่วมกันให้คำปรึกษา ติดตาม ดูแล และการให้ความรู้แก่ประชาชนให้สามารถนำไปปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการป้องกันที่ดีโดยการสร้างการตระหนัก จูงใจประชาชนเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพดีของตนเองและบุคคลรอบด้าน ในส่วนของสถานการณ์ปัญหาการสูบบุรี่ที่ส่งผลกระทบต่อตำบลโคกชะงายโดยรวมคือ จำนวนผู้สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นทุกปีส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆเช่น ด้านเศรษฐกิจเพิ่มรายจ่ายครอบครัวและกระทบต่อสุขภาพอัตราป่วยโรคปอดบวมในเด็กที่ครอบครัวมีคนสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นและการบังคับใช้กฎหมายยังหละหลวม ด้วยเหตุนี้ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกชะงายตำบลโคกชะงายอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจากการสูบุหรี่ จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่โดยพลังชุมชนคนโคกชะงายเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนในชุมชน ลดละเลิกการบริโภคยาสูบ เพื่อเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้เป็นชุมชนปลอดบุหรี่ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนในชุมชนปลอดภัยจาควันบุหรี่อย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้าง/ขยายเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน

มีเครือข่ายเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบทุกหมู่บ้าน

2 เพื่อดำเนินการให้สถานที่สาธารณะและบ้านเป็นเขตปลอดการสูบบุหรี่ตามกฎหมาย

สถานที่สาธารณะทุกแห่งและบ้านเป็นเขตปลอดการสูบบุหรี่ตามกฎหมาย

3 เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย

ไม่มีการจำหน่ายบุหรี่ที่ผิดกฎหมายของร้านค้าและประชาชนไม่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 1 30,000.00
31 พ.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 30,000.00 30,000.00

1.จัดประชุมสมาชิกในชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ได้รับรู้/ รับทราบโครงการ และคัดเลือกคณะทำงาน
2. จัดอบรม อสม. ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่าย และตัวแทนประชาชน
3. กำหนดเขตปลอดบุหรี่ตามกฎหมาย และร่วมกันตั้งกติกากำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่และการห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็กเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปีอบรม 4. สำรวจสถานที่ราชการ ที่สาธารณะ และร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่พร้อมให้คำแนะนำด้านกฎหมาย 5. จัดกิจกรรมรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลกโดยการปั่นจักรยาน ในวันงดสูบบุหรี่โลก 6. ประเมินผลและสรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อร่วมดำเนินงานเฝ้าระวังควบคุมการบริโภคยาสูบในหมู่บ้าน/ชุมชน
    1. อสม.มีส่วนร่วมในการดำเนินงานเฝ้าระวังเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ในหมู่บ้าน/ชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:52 น.