กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1000 วัน ในพื้นที่ หมู่ 7 ตำบลกรงปินัง ปี 2565
รหัสโครงการ 16/2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1,000 วันแรกของชีวิต คือ ช่วงเวลาที่นับตั้งแต่การปฏิสนธิและตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอด (270 วัน) รวมกับช่วงเวลาตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 2 ปี (730วัน) ช่วง 1,000 วันแรกเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิต เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการพัฒนาทางร่างกาย สมอง อารมณ์และสังคม เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างเซลล์สมอง เพิ่มเซลล์สมอง และควบคู่ไปกับการสร้างเส้นใยประสาท ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การได้รับการดูแลที่ดี ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึง อายุ 2 ปี จะทำให้ทารกเจริญเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด ครรภ์ของแม่ คือ โลกของลูก ลูกเรียนรู้ผ่านฮอร์โมนที่บ่งบอกอารมณ์ของแม่ในแต่ละวัน แม่รู้สึกอย่างไร ลูกรู้สึกอย่างนั้น ดังนั้นการรักษาใจของแม่ และดูแลสุขภาพของแม่ จึงเป็นการพัฒนาจิตใจและสุขภาพทั้งแม่และลูกไปพร้อมกันตลอด 9 เดือน โดยมีพ่อ และวงศาคณาญาติเป็นผู้เกื้อกูลให้แม่สามารถรักษาภาวะจิตใจและสุขภาพที่ดี ได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ พ่อแม่ ได้เรียนรู้เรื่องการดูแลตนเอง การจัดการภาวะจิตใจ อารมณ์และการสื่อสารในครอบครัว จะทำให้ครอบครัวมีทักษา และความรู้ในการเลี้ยงดุบุตรอย่างมีสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิด พัฒนา จนเป็นประชากรที่มีคุณภาพในอนาคต การที่จะเริ่มต้นดูแล มหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต จำเป็นที่จะต้องเริ่มต้น ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ รวมทั้งระหว่างตั้งครรภ์ ในการให้ความรู้มารดาตั้งครรภ์และครอบครัวในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงระหว่างตั้งครรภ์ และป้องกันการเกิด อัตรามารดาและทารกตายแรกคลอด
จังหวัดยะลามีสถิติมารดาตั้งครรภ์และหลังคลอดเสียชีวิต ในปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา จำนวน  7 ราย ซึ่งเป็นของอำเภอกรงปินังจำนวน 2 ราย เสียชีวิตจากภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เกิดจากขาดความตระหนักในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ในภาวะที่มีความเสี่ยงสูง และหลังคลอด มีประวัติมารดาที่เสียชีวิตหลังคลอด เคยใช้สารเสพติด ซึ่งอาจจะเกิดจากการขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวของมารดาตั้งครรภ์และสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
ในปีงบประมาณ 2564 หน่วยงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม มีมารดาตั้งครรภ์ทั้งหมด 87 ราย เป็นมารดาที่มีความเสี่ยงสูง 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.44 เสี่ยงจาก GDMA2 2 ราย ร้อยละ 2.30, และ Hypertension 1 ราย ร้อยละ 1.15 ได้รับการดูแลและติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีม รพ.สต. และแพทย์ในโรงพยาบาล แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ควรที่จะชะล่าใจ จำเป็นต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่องและให้ความรู้ สร้างความตระหนักในการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ต่อไป ทั้งในหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงเดิม ตลอดจนค้นหาหญิงตั้งครรภ์ให้ไวที่สุด ในการนำเข้าสู่กระบวนการดูแลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อสุขภาพของมารดาตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและทารก นำไปสู่การสร้างมหัศจรรย์ 1,000 วันแรก ของชีวิต ให้สมบูรณ์ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเตรียมความพร้อมให้วัยเจริญพันธ์ที่จะเป็นพ่อแม่ที่ดีในอนาคต
  1. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกิน ร้อยละ 15
1.00
2 2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์
  1. หญิงตั้งครรภ์ทุกคน ได้รับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ให้ได้ร้อยละ 75
1.00
3 3. เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคน ได้รับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  1. มีการส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่พบ มีความเสี่ยง เพื่อพบแพทย์ เพื่อดูแลเฉพาะราย ร้อยละ 100
1.00
4 4. เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์ได้รับการประเมินกายจิตสังคมและได้รับการช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  1. มารดาหลังคลอดได้รับการดูแลสุขภาพหลังคลอดตามเกณฑ์ที่กำหนด มากกว่า ร้อยละ 75
1.00
5 5. เพื่อส่งเสริมให้สามีและครอบครัวได้มีบทบาทในการช่วยเหลือดูแลภรรยาและลูก
  1. สตรีหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ร้อยละ 50
1.00
6 6. เพื่อป้องกันการเกิดแม่ตายในหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น กลุ่มวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 25 คน(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 5,900.00      
2 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก เรื่อง กิน กอด เล่น เล่า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นมารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็ก(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 4,100.00      
รวม 10,000.00
1 กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็น กลุ่มวัยเจริญพันธ์ และหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 25 คน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 5,900.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก 25 5,900.00 -
2 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก เรื่อง กิน กอด เล่น เล่า โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นมารดาหลังคลอดและผู้ดูแลเด็ก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 4,100.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 จัดกิจกรรมให้ความรู้สุขภาพแม่และเด็ก เรื่อง กิน กอด เล่น เล่า 20 4,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จากแบบประเมิน 1. หญิงวัยเจริญพันธ์ที่เข้าร่วมโครงการ และสามารถทำคะแนน Posttest ได้ถูกต้องร้อยละ 80 2. สตรีตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถทำข้อสอบ Posttest ได้ถูกต้องมากกว่า ร้อยละ 80 3. ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจในโครงการ มากกว่าร้อยละ 80 ผลลัพธ์ 1. ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ไม่เกินร้อยละ 15 2. อัตราทารกพิการแต่กำเนิด เท่ากับร้อยละ 0 3. อัตราการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ มากกว่าร้อยละ 80 4. อัตราการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80 5. สตรีตั้งครรภ์ทุกราย ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงร้อยละ 100 6. มารดาหลังคลอด ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด มากกว่าร้อยละ 80 มารดาหลังคลอดครรภ์เสี่ยง ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 100 7. มารดาหลังคลอด ได้รับบริการด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย มากกว่าร้อยละ 50 8. สตรีตั้งครรภ์ ได้รับการประเมิน กาย จิต สังคม และได้รับการช่วยเหลือ มากกว่า ร้อยละ 80

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 13:12 น.