กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เบาหวาน ความดัน หมู่ 7 ตำบลกรงปินัง ปี ๒๕๖๕
รหัสโครงการ 17/2565
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลกรงปินัง
วันที่อนุมัติ 28 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ธันวาคม 2565
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารีแย สะอะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนตำบลกรงปินัง ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ  เป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและการตายในลำดับต้นๆ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน    โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ เกิดโรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดสมองตีบ ตัน เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดสมองแตก ไตวาย ทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารไม่สมดุล เกินความต้องการของร่างกาย และเป็นอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มมากเกินไป อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อนสะสมในผัก ผลไม้ อาหารสด อาหารแห้ง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป นิยมอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป รวมทั้งอาหารตามร้านนอกบ้านที่ปรุงอาหารคำนึงถึงแต่รสชาติแต่ไม่คำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค การขาดการออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายน้อย อ้วน มีความเครียด เป็นต้น แต่โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ ซึ่งในการควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีกระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานที่แตกต่างไปจากการควบคุมและป้องกันโรค  ไม่ติดต่ออื่นๆ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของการเกิดโรคเรื้อรังนี้ มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นั่นคือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีระยะเวลาของการฟักตัวของโรคที่ยาวนาน อาการของโรคไม่ปรากฏชัดเจน จนกระทั่งมาถึงพัฒนาการของโรคในขั้นที่มีผลรุนแรงต่อร่างกาย เมื่อเป็นโรคเหล่านี้แล้วนั้น ส่วนใหญ่จะไม่หายขาด อีกทั้งพยาธิสภาพในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างถาวรและไม่สามารถกลับคืนมายังสภาพปกติได้อีกเลย ซึ่งในกระบวนการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เริ่มตั้งแต่การคัดกรองในกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตพื้นที่รับผิดของของกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ซึ่งผลจากการคัดกรองจะแบ่งกลุ่มได้เป็น กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และ  กลุ่มป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยในกลุ่มปกติ จะเน้นการส่งเสริมการปฏิบัติตัวให้ดีต่อไป สำหรับกลุ่มเสี่ยง จะมีระบบส่งต่อโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะส่งต่อกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงในคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (DPAC) ของสถานบริการ สำหรับกลุ่มป่วย จะได้รับการบริการในคลินิ โรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ของสถานบริการเช่นกัน ซึ่งนอกจากกระบวนการรักษาโรค  ไม่ติดต่อเรื้อรังจะมีในสถานบริการแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการส่งเสริมสุขภาพในระดับชุมชน หรือหมู่บ้าน  โดยการนำเสนอสถานการณ์โรคไม่ติดต่อเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ให้ชุมชนได้รับรู้ เพื่อให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ตลอดจนเพื่อให้ชุมขนได้มีส่วนร่วมช่วยกันวิเคราะห์ สาเหตุของปัญหา และกำหนดกิจกรรมแก้ไขปัญหาร่วมกันของคนในชุมชน ด้วยความร่วมมือและการบูรณการของทุกฝ่ายที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อให้เกิดการ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพที่ครอบคลุมและยั่งยืน โดยการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ตลอดจน  ลดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายของโรคดังกล่าว ทั้งนี้ การดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม ลดเสี่ยง ลดโรค ม.7 ตำบลกรงปินังพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่มงานบริการปฐมภูมิและองค์รวม ให้มีประสิทธิภาพได้นั้นต้องมีบุคลากรผู้ดำเนินงานทุกระดับในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา อสม. เป็นต้น เพื่อให้การดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรคเบาหวาน ลดโรคมะเร็ง ลดโรคความดันโลหิตสูง  ลดโรคหัวใจและหลอดเลือด ปี 256๕ เพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมกัน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา โรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกัน วิเคราะห์ สาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และร่วมกันนำเสนอ กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยชุมชนเอง

 

1.00
2 ๒. ส่งเสริมให้เกิดแกนนำสุขภาพในการติดตามดูแล.ในกลุ่มเสี่ยง ป่วย ผู้ป่วยเรื้อรังในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดหวาน มัน เค็มเพิ่มการเข้าถึงบริการในกลุ่มโรคเรื้องรัง

 

1.00
3 ๓.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับประทานผักเพิ่มมากขึ้นและเห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน

 

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะทำงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 1,725.00      
2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 22,100.00      
3 กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน เพื่อดูแล ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็มในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ร่วมทั้งให้คำปรึกษา ติดตามให้มาตามนัดในกลุ่มป่วย(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 6,400.00      
4 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยการแจกพันธ์ผัก 3 ชนิด ต่อหลังคาเรือน ได้แก่ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง หรือผักที่ได้จากการเสนอในการประชุมเวทีประชาชาคมของหมู่บ้าน ทีป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำ(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 4,775.00      
รวม 35,000.00
1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะทำงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 1,725.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะทำงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 15 1,725.00 -
2 กิจกรรมที่ 2 ประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด หวาน มัน เค็ม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 22,100.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ประชุมเวทีประชาคมหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100 22,100.00 -
3 กิจกรรมที่ 3 อบรมแกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน เพื่อดูแล ติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดหวาน มัน เค็มในกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย ร่วมทั้งให้คำปรึกษา ติดตามให้มาตามนัดในกลุ่มป่วย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 6,400.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมแกนนำสุขภาพในหมู่บ้าน 40 6,400.00 -
4 กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยการแจกพันธ์ผัก 3 ชนิด ต่อหลังคาเรือน ได้แก่ ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักบุ้ง หรือผักที่ได้จากการเสนอในการประชุมเวทีประชาชาคมของหมู่บ้าน ทีป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,775.00 0 0.00
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน 0 4,775.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมกัน วิเคราะห์ หาสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และร่วมกันนำเสนอ กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 2.เกิดแกนนำสุขภาพในการติดตามดูแล.ในกลุ่มเสี่ยง ป่วย ผู้ป่วยเรื้อรังในเรื่องของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดหวาน มัน เค็มเข้าถึงบริการในกลุ่มโรคเรื้องรัง
    3.ประชาชนในหมู่บ้านเห็นความสำคัญของการรับประทานผักเพิ่มมากขึ้น และมีการปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้านเพิ่มมากขึ้น ๔. ร้อยละ 5ของผู้ป่วยเบาหวานลดลง ๖.ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเบาหวานทีขึ้นทะเบียน ได้รับการตรวจติดตามรักษาอย่างเหมาะสม ๗.ร้อยละ-๒.5ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง ๘.ร้อยละ 60 ของความดันโลหิตสูงทีควบคุมความดันได้ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 13:46 น.