กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้ก่อนเหตุ แก้ก่อนเกิดโรคไข้เลือดออก ปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5184-02-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.หมู่ที่ 6 ต.บ้านนา
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 21,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสิตีมาเรียม สาหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนา อำเภอจะนะจังหวัดสงขลาและเป็นโรคติดต่อประจำถิ่นที่แพร่ระบาดได้รวดเร็ว เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีการระบาดตลอดปีและพบมากในฤดูฝน จากการสำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาของโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมา พบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรวมไปถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่ลดลง ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตจากข้อมูลรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ในตำบลบ้านนา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2565 – 23 มิถุนายน 2565 พบผู้ป่วย จำนวน 8 ราย โดยเป็นผู้ป่วย หมู่ 2 จำนวน 1 ราย ,หมู่ 6 จำนวน 1 ราย ,หมู่ 7 จำนวน 4 ราย ,และ หมู่ 9 จำนวน 2 ราย (จากข้อมูลงานระบาดวิทยาอำเภอจะนะ ปี 2565 ) มีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และจากการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายของหมู่ที่ 6 พบว่า ดัชนีลูกน้ำในบ้าน (House Index) คือ จำนวนบ้านที่สำรวจทั้งหมด 251 หลังคาเรือนพบลูกน้ำยุงลาย 114 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 45.42 ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน(รายงานแบบสำรวจลูกน้ำยุงลายของอสม. เดือน มิถุนายน 2565) เพราะฉะนั้นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่ดีที่สุด คือ ไม่มียุง การที่จะทำให้ไม่มียุง ต้องกำจัดต้นเหตุของการเกิดยุง นั่นคือการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆบริเวณบ้าน ตามมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ 1. เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่มีบริเวณอับทึบให้ยุงลายเกาะพัก 2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณบ้าน เก็บเศษภาชนะที่ไม่ต้องการทิ้งไว้ในถุงดำมัดปิดปากถุง และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และ 3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะไม่ใช้ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ใส่ทรายกำจัดลูกน้ำหรือปล่อยปลากินลูกน้ำในภาชนะที่ปิดฝาไม่ได้ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ และเน้นการป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยทายากันยุง และนอนในมุ้ง ซึ่งสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา 3. โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา ด้วยเหตุผลดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสารณสุขประจำหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ รู้ก่อนเหตุ แก้ก่อนเกิดโรคไข้เลือดออก ขึ้นในปีงบประมาณ 2565 โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนาเป็นเงินจำนวน 21,675 บาท (สองหมื่นหนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบห้าบาทถ้วน)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น
  1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นมากกว่า  ร้อยละ 90
0.00
2 2. เพื่อสร้างความร่วมมือ แล2ส่งเสริมการทำงานร่วมกับชุมชนและภาคีเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา โรคไข้เลือดออก

2 ชุมชนให้ความร่วมมือในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพและเคมีมากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของหมู่ที่ 6 บ้านท่าชะมวง ไม่ให้เกินเป้าหมายที่กำหนด

3 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของหมู่ที่ 6 บ้านท่าชะมวงลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,675.00 0 0.00
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 1. กิจกรรม ประชุมคณะทำงาน 0 875.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 2. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและวิธีการเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน ช่วงเช้าเวลา 08.00 -12.00 น. 0 11,925.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 3. กิจกรรม พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ช่วงบ่าย 13.00 -16.30 น. 0 3,000.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 4. กิจกรรม เดินรณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน จำนวน 4 ครั้ง 0 5,000.00 -
1 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 5. สรุปกิจกรรมและประเมินผลโครงการ 0 875.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนเกิดความตระหนักและมีส่วนร่วมในการดำเนินการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่ที่ 6 บ้านท่าชะมวง ลดลงตามเกณฑ์ที่กำหนด 3.แหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายลดลงไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 10 ของบ้านที่สำรวจ (ค่า HI) หลังจากจัดโครงการ 4.ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 00:00 น.