กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L8402-01-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้
วันที่อนุมัติ 2 ธันวาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 57,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรวรรณ บุญเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1672 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป และเกิดสถานการณ์โรคโควิด 19 ระบาด ทำให้ประชาชนมีความลำบากในการใช้ชีวิต และมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ ประชาชนขาดรายได้ เกิดภาวะเครียด อาจทำให้มีผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่ออันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในหลอดเลือด โรคมะเร็ง เป็นต้น   จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ได้ตรวจสุขภาพประจำปีประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในปีงบประมาณ 2564 พบว่า มีประชาชนที่ีเข้าร่วมตรวจคัดกรองเบื้องต้น โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 1,600 คน พบว่า มีความเสี่ยงที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 120 mg/dl จำนวน 340 คน คิดเป็นร้อยละ 18.13 กลุ่มนี้จึงมีโอกาสที่จะเปลี่ยนไปเป็นโรคเบาหวานที่ต้องรับประทานยาตลอดชีวิตได้ ส่วนกลุ่มที่มีความเสี่ยงค่าระดับความดันโลหิตสูงเกิน 120/80 mmHg จำนวน 176 คน คิดเป็นร้อยละ 9.39 กลุ่มนี้จึงมีโอกาสเปลี่ยนไปเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและรับประทานยาตลอดชีวิตได้ ซึ่งในกลุ่มนี้ก็มีโอกาสป่วยด้วยโรคทั้ง 2 โรคได้ และด้วยสถานการณ์โรคโควิด 19 ระบาด ทำให้ไม่สามารถรวมกลุ่มในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงได้เป็นจำนวนมาก ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการคัดกรองโรคจากการร่วมกลุ่มคัดกรองเป็นจำนวนมาก โดยใช้วิธีการคัดกรองโรคเชิงรุกด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และเพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความสามารถในการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงของเขตรับผิดชอบได้ด้วยตนเอง จึงได้มีการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความพร้อมและมีความมั่นใจในการคัดกรองเชิงรุกในชุมชนได้ ทั้งนี้เมื่ออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถคัดกรองโรคเชิงรุกได้ด้วยตนเอง ทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สามารถลงพื้นที่ตรวจคัดกรองเชิงรุกในเขตรับผิดชอบของตนเองได้ ทำให้การร่วมกลุ่มลดลง โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบาดหรือการแพร่กระจายเชื้อลดลง อีกทั้งยังช่วยควบคุมการระบาดของโรคในชุมชนได้ด้วย   ดังนั้น จากข้อมูลดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ได้เล็งเห็นถึงปัญหาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในชุมชน ด้วยการเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีพร้อมในการคัดกรองเชิงรุกในชุมชนโดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขค่อยเป็นพี่เลี้ยง ะเพื่อลดการร่วมกลุ่มคัดกรองเป็นจำนวนมากที่ทำให้เสี่ยงต่อการติดต่อของโรคโควิด 19 และดำเนินการคัดกรองเชิงรุกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ไม่เกิดผู้ป่วยรายใหม่ และประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1,600 คน

100.00
2 เพื่อลดการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง

อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลดลง

80.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการตรวจคัดกรองโรคเชิงรุกในชุมชน

อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีศักยภาพในการคัดกรองโรคเชิงรุกในชุมชนเพิ่มขึ้น

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 64พ.ย. 64ธ.ค. 64ม.ค. 65ก.พ. 65มี.ค. 65เม.ย. 65พ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมการคัดกรองเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง(1 ต.ค. 2564-30 ก.ย. 2565) 57,700.00                        
รวม 57,700.00
1 กิจกรรมการคัดกรองเชิงรุกกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1672 57,700.00 0 0.00
5 ส.ค. 65 การคัดกรองเชิงรุกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1,672 57,700.00 -

ขั้นเตรียมการ   1.ประชุมชี้แจงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน   2.วางแผนการดำเนินงานเชิงรุกคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และภาคีเครือข่าย   3.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนกลุ่มที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ขั้นดำเนินการ   1.แต่งตั้งทีมสุขภาพสำหรับออกดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้   2.จัดอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการคัดกรองโรคเชิงรุกในชุมชน พร้อใทั้งการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ สามารถอ่านค่า แปลผลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และสามารถให้คำแนะนำพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงได้ถูกต้องและเหมาะสมก่อนดำเนินการคัดกรองโรคเชิงรุกในชุมชน   3.สำรวจกลุ่มเป้าหมายและประชาสัมพันธ์โครงการ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธา่รณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป เพื่อเข้ารับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   4.จัดเตรียมเอกสาร คู่มือ ในการดำเนินงาน   5.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) นัดประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปตามระแวกที่รับผิดชอบเป็นจุดในแต่ละหมู่ เพื่อรับการคัดกรองเชิงรุกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง   6.เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ร่วมดำเนินการคัดกรองเชิงรุกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมีกิจกรรมซักประวัติการเจ็บป่วยก่อนหน้ารวมถึงประวัติการเกิดโรคในครอบครัวที่เป็นภาวะเสี่ยงและประวัติพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพตามแบบคัดกรองโรค โดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดดรรชนีมวลกายตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาน้ำตาลในเลือด   7.ส่งต่อบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงสูงเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม   8.ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องทั้งในสถานที่บริการและในชุมชน เกี่ยวกับบทบาทในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)   9.นำกลุ่มเสี่ยงสูงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดโรครายใหม่ (คลินิกลดพุงลดโรค)   10.ติดตามกลุ่มเสี่ยงสูงโดยการตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจหาน้ำตาลในเลือด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน ขั้นประเมินผล   1.ติดตามความก้าวหน้าในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเมื่อครบ 6 เดือน   2.สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการคัดกรองเชิงรุกทุกคน และสามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ได้ และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) มีศักยภาพในการคัดกรองเชิงรุก แปลผลค่าความดันโลหิตสูงและค่าเบาหวานในเลือดได้ถูกต้อง พร้อมทั้งใหคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการคัดกรองอย่างถูกต้องเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ส.ค. 2565 13:55 น.