กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กบ้านไร่ โภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี
รหัสโครงการ 65-L5261-2-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านไร่
วันที่อนุมัติ 27 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 สิงหาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 111,715.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยวัฒน์ ทองก่อแก้ว ตำแหน่ง ครูโรงเรียนบ้านไร่
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 ส.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 111,715.00
รวมงบประมาณ 111,715.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 137 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 68 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพที่ดีนั้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ด้วย 1.สุขภาพด้านร่างกาย 2.สุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ 3.สุขภาพด้านสติปัญญา 4.สุขภาพด้านสังคม ต่อการดำรงชีวิตในประจำวัน     ประเด็นที่ 1 วัยเด็กเป็นช่วงชีวิตที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการตลอดช่วงชีวิต เด็กไม่ได้มีการเติบโตแต่เพียงร่างกายเพียงอย่างเดียว แต่มีการพัฒนาในทุกๆด้านขึ้นกับตัวเด็กและสิ่งต่างๆรอบ ๆ ตัวเด็กแต่ละคนมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นกับพลวัตรของการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมภาวะสุขภาพและแรงสนับสนุนจากสังคมซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างคุณภาพชีวิตพัฒนาการที่ดีจึงเป็นความรับผิดชอบหลักของสังคมครอบครัวจึงเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่สามารถส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตและหล่อหลอมความเป็นมนุษย์ด้วยการอบรมเลี้ยงดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัย 3 ขวบแรก จนถึงอายุ 12 ปี ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ในส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้านพัฒนาศักยภาพคนให้มีทักษะความรู้และความสามารถในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าโดยการส่งเสริมให้เด็กมีการพัฒนาทักษะทางสมอง และทักษะทางสังคมที่เหมาะสมโดยพัฒนาหลักสูตรการสอนปรับปรุงพัฒนาเด็กปฐมวัยและประถมศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่เน้นการพัฒนาทักษะสำคัญต่างๆอาทิเช่นทักษะทางสมองทักษะด้านความคิด การสร้างสรรค์ ความจำทักษะ การควบคุมอารมณ์ ทักษะการวางแผนและ ทักษะการเรียนรู้     ประเด็นที่ 2 อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะเด็ก เป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ การเริ่มต้นวันใหม่ด้วยอาหารเช้าตามหลักโภชนาการจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นในแต่ละวันอย่างครบถ้วน มิเช่นนั้นมื้ออาหารที่เหลืออาจต้องรับประทานในปริมาณมาก เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสมในแต่ละวัน จึงไปกระจุกรวมเป็นอาหารมื้อใหญ่เพียง 1-2 มื้อ ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อสุขภาพตามมา ถ้าเด็กได้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ไม่มีอุปสรรคต่อการเรียนรู้ และการเจริญเติบโตของร่างกายเมื่อท้องอิ่ม จิตใจก็แจ่มใส เบ่งบาน พร้อมเปิดรับกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ   ประเด็นที่ 3 การเรียนรู้ตามหลักการพัฒนาสมอง การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับธรรมชาติและการทำงานของสมองของคนทุกช่วงวัย การสร้างสรรค์สื่อ นวัตกรรม ซึ่งการพัฒนาสมอง การรับรู้ การเรียนรู้ในวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญ โดยเด็กต้องมีการพัฒนาการเรียนรู้อย่างถูกต้องและมีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แนวคิดการเรียนรู้ การพัฒนาสมองแบบ BBL เป็นการเรียนรู้จากการสัมผัส การเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยถือได้ว่าเป็นหลักการสำคัญที่สุดที่จะพัฒนาการทางด้านร่างการเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการก้าวเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา     ดังนั้นโรงเรียนบ้านไร่ จึงได้ทำโครงการเด็กบ้านไร่ โภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี ประจำปี 2565 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรม ส่งเสริม พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา ทำให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์ พัฒนาการในแต่ละช่วงวัยได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้เด็กมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยที่ดี การเคลื่อนไหวที่ดี สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน คณะครู และผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี

ร้อยละ 90 นักเรียน คณะครู และผู้ปกครองมีความรู้เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้น อ.1 – ป.6 ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารเช้า ตามหลักโภชนาการสมวัย เสริมอาหารให้ครบ ๕ หมู่ เช่น นม ไข่ เป็นต้น

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ  ได้รับอาหารเช้าตามหลักโภชนาการสมวัยที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่

0.00
3 เพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี ให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านไร่ทุกคน

นักเรียนได้รับความรู้ เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง  เสริมสร้างความเข้มแข็ง  สุขภาพอนามัยที่ดี

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระยา
  2. ประชุมชี้แจงคณะครูโรงเรียนบ้านไร่ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  3. แต่งตั้งครูรับผิดชอบจัดทำโครงการเด็กบ้านไร่ โภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี ประจำปี 2565 คณะกรรมการดำเนินงาน และเชิญวิทยากร
  4. ครูรับผิดชอบและคณะกรรมการดำเนินงานดำเนินจัดกิจกรรมทำโครงการเด็กบ้านไร่ โภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี ประจำปี 2565 และคณะกรรมการดำเนินงานดำเนินกิจกรรม     4.1. กิจกรรมอบรมโครงการเด็กบ้านไร่ โภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี ประจำปี 2565     4.2. กิจกรรมอาหารเช้าโภชนาการสมวัย     4.3. กิจกรรมการจัดป้ายนิเทศ สื่อสร้างสรรค์ให้ความรู้
  5. ติดตามและประเมินผล
  6. สรุปโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ร้อยละ 90 นักเรียน คณะครู และผู้ปกครอง มีความรู้เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี
  2. นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับอาหารเช้าตามหลักโภชนาการสมวัย ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบ 5 หมู่
  3. นักเรียนได้รับความรู้ เรื่องโภชนาการสมวัย สรรค์สร้าง เสริมสร้างความเข้มแข็ง สุขภาพอนามัยที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 09:03 น.