กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง ประจำปี 2565
รหัสโครงการ 65-L5293-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคีรีวง
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 25,430.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพิกุล ตันพานิช
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 25,430.00
รวมงบประมาณ 25,430.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ขับเคลื่อนมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต สอดคล้องนโยบายรัฐบาล ให้ประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศไทย 4.0 เริ่มจากการพัฒนาศักยภาพคนไทยให้มีสุขภาพดี สติปัญญาดี แข็งแรง มีทักษะสูง และมีจิตใจที่งดงาม เป็นคนไทย 4.0 ตั้งเป้าภายใน 5 ปี พ.ศ.2560-2565 เด็กไทยมีไอคิว (IQ) คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 100 และร้อยละ 70 มีคะแนนอีคิว (EQ) เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน       ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย เสริมธาตุไอโอดีน เหล็ก โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรงของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน-2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ทำด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า เพิ่มความฉลาด เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูง  ในที่สุด
มีการดำเนินงาน  มีการให้บริการตรวจครรภ์อย่างมีคุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก เด็กได้รับการเลี้ยงดู มีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วนตามวัย มีพัฒนาการตามเกณฑ์อายุ 0-2 ปีเด็กชายสูงไม่ตำกว่า 82.5 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 10.5 กิโลกรัม เด็กหญิงสูงไม่ต่ำกว่า 81 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 9.5 กิโลกรัม เด็กมีฟันอย่างน้อย 12 ซี่ และฝันน้ำนมไม่ผุ เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิว ดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพ เก่งดี มีสุข
    จากการติดตามภาวะโภชนาการเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคีรีวง ในเด็ก 0-2 ปี ไตรมาส2 ปีงบประมาณ 2564 ผลเด็กเตี้ย 4 คน ผอม 7 คน และภาวะโภชนาการ ไตรมาส 1 ปีงบประมาณ2565 ผลเด็กเตี้ย 24 คน ผอม 3 คน มีพัฒนาการสมวัย ปี 2564 ร้อยละ80.39 จากการดำเนินงาน พบเด็กเตี้ย เพิ่มร้อยละ20.97 ส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 37.50 ระดับต่ำกว่าเกณฑ์ สาเหตุ เด็กไม่ได้รับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงได้มาตรฐาน และขาดความรู้ในภาวะโภชนาการเด็ก 0-2 ปีเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานจัดอบรมให้ความรู้ และหาเครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงมีมาตรฐานในชุมชน เพื่อได้รับการติดตามและส่งเสริมภาวะโภชนาการและมีพัฒนาการ สมวัย ส่งผลให้ไอคิวและอีคิวดี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงการตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตาม    เกณฑ์มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด

มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้งมากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัยโภชนาการสมส่วนตามวัย

เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 โภชนาการสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 54

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 ประชุมชี้แจง อสม. และแต่งตั้งคณะทำงานมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต(3 ส.ค. 2565-17 ก.ย. 2565) 0.00      
2 อบรมหญิงตั้งครรภ์การดูแลฝากครรภ์และภาวะเสี่ยงแก่มารดาและอบรมผู้ดูแลเด็ก การดูแลเด็ก- ภาวะโภชนาการเด็กสมส่วน - สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็ก - พัฒนาการ ตามวัย DSPM(3 ส.ค. 2565-17 ก.ย. 2565) 0.00      
รวม 0.00
1 ประชุมชี้แจง อสม. และแต่งตั้งคณะทำงานมหัศจรรย์ 1000 วันแรกแห่งชีวิต กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 อบรมหญิงตั้งครรภ์การดูแลฝากครรภ์และภาวะเสี่ยงแก่มารดาและอบรมผู้ดูแลเด็ก การดูแลเด็ก- ภาวะโภชนาการเด็กสมส่วน - สาธิตการประกอบอาหารสำหรับเด็ก - พัฒนาการ ตามวัย DSPM กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงตั้งครรภได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้งตามเกณฑ์     2. มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด     3. เด็กแรกเกิด-2 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 โภชนาการสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 54     4. เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 10:42 น.