กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนแบบต่อเนื่อง ปี2565

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนแบบต่อเนื่อง ปี2565
รหัสโครงการ 65-l3007-01-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.สะกำ
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมิสบะ กาลอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 20,250.00
รวมงบประมาณ 20,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพ ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่นการบริโภค การออกกำลังกาย ความเครียด การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น จังหวัดปัตตานีพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2560 เท่ากับ45669 และผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในปี2560 เท่ากับ 50443 ราย เพิ่มขึ้น 4764 ราย จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเท่ากับ110517ราย และในปี2560 เท่ากับ 119813 ราย เพิ่มขึ้น 9296 ราย และจากการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ด้านอาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยง พบว่าพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้องค่อนข้างสูงในเรื่องการรับประทานผักไม่หลากหลายชนิดใน 1 วัน การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมกับเพศ วัย และอายุ ตลอดจนเครียดที่สะสม จากการใช้ชีวิตประจำวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่ทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพโดยรวม จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ ปี2561 พบว่าผู้ป่วยเบาหวาน 95 คน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 208 คน ผลการคัดกรองประชากร 1,452 คน ได้รับการตรวจคัดกรอง 1,225 คนคิดเป็นร้อยละ 84.37 คัดกรองเบาหวาน ประชากรเป้าหมาย 1,452 คน ได่รับการตรวจคัดกรอง 1,225 คน คิดเป็นร้อยละ84.37 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตจำนวน33คน ร้อยละ4.48(เกินเกณฑ์2.40) กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 9 คน คิดเป็นร้อยละ1.03 จำนวนผู้ติดเตียง 4 ราย ซึ่งอยู่ในอัตราป่วยค่อนข้างสูงขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขได้ มีการทำโครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน และกลุ่มเสี่ยงไม่ป่วยเป็นโรค ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน
  1. กลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโรคเบาหวาน
0.00
2 2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดบ้าน/ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลแบบต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อคน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน และอาสาสมัครสาธารรณสุขผู้นำนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  1. ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อคนโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำและอาสาสมัครสาธารณสุขโดยผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติตนได้ไปในทางที่ดีและถูกต้องต่อไป
0.00
3 .กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 2.4
  1. กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน/เบาหวาน ไม่เป็นโรคและกลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่อโรค
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดบ้าน/ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลแบบต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อคน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน และอาสาสมัครสาธารรณสุขผู้นำนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : .กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 2.4

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 คัดกรองและติดตาม 0.00 20,250.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ตรวจคัดกรองความดันโลหิตและเบาหวานจำนวน 300 คน จำนวน 4 หมู่ 300.00 8,750.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ 60.00 6,000.00 -
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ประชาสัมพันธ์ 0.00 5,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.กลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดัน โรคเบาหวาน 2.ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบสะกำและอาสาสมัครสาธารณสุขโดยผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติตนได้ไปในทางมี่ดีและถูกต้อง
3.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน/เบาหวานไม่ป่วยเป็นโรคและกลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่อโรค 1.ประชุมเตรียมความพร้อมของคณะทำงาน
2.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบโครงการเพื่อมารับบริการ ตามวันที่กำหนด
3.จัดทำทะเบียนกลุ่มผู้มารับบริการ
4.ซักประวัติ วัดความดันโลหิต / วัดรอบเอว/ประเมินดัชนีมวลกาย(BMI)จำนวน 300 คน
5.ดำเนินการตรวจคัดกรองเบาหวานด้วยแบบคัดกรอง 8 ข้อ และเจาะเลือดปลายนิ้ว จำนวน 300 คน
6.จดทะเบียนกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองความดัน/เบาหวาน เพื่อติดตามประเมินผลซ้ำประมาณ 2 สัปดาห์ พร้อมทั้งให้ความรู้และสาธิตอาหาร
  6.1.ติดตามกลุ่มเสี่ยงประเมิน รอบ 2 (ที่ขึ้นทะเบียนจากการตรวจคัดกรองครั้งแรก)โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท
  6.2กรณีสงสัยส่งต่อผู้ที่ตรวจพบเป็นโรคเบาหวานรับการตรวจซ้ำและรักษาโดยแพทย์ที่โรงพยาบาลมายอ
  6.3กรณีตรวจไม่พบเสี่ยง(จากการตรวจคัดกรอง)ติดตามเฝ้าระวังซ้ำ ทุก 2 เดือน
7.เยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดเตียง/ผู้ป่วยติดบ้าน เพื่อให้เห็นวิถีชีวิตรายบุคคล
8.ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยและติดตามกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดเตียง/โดยใช้แบบประเมินรายบุคคล
9.สรุปผลการดำเนินงาน/ประเมินผลเป็นระยะและต่อเนื่อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน กลุ่มเสี่ยงที่มีอายุตั้งแต่35ปีขึ้นไป อย่างน้อยปีละ1ครั้งต่อคน ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโรคเบาหวาน 2.เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยติดบ้าน/ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลแบบต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อคน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพรวน และอาสาสมัครสาธารรณสุขผู้นำนักเรียนมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ผู้ป่วยติดเตียงได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยเดือนละ1ครั้งต่อคนโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกำและอาสาสมัครสาธารณสุขโดยผู้ป่วยและญาติสามารถปฏิบัติตนได้ไปในทางที่ดีและถูกต้องต่อไป 3.กลุ่มเสี่ยงป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงไม่เกินร้อยละ 2.4 กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดัน/เบาหวาน ไม่เป็นโรคและกลุ่มป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนต่อโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 11:03 น.