กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.ร่วมใจห่วงใยสุขภาพช่องปาก ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ 65 – L8423-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. หมู่ที่ ๗ บ้านบาโงสะโต
วันที่อนุมัติ 3 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2565 - 30 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 25,120.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูชนา เจ๊ะฮะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากรายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ. 256๒ โดยสำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า กลุ่มเด็กอายุ 12 ปี มีประสบการณ์โรคฟันแท้ผุร้อยละ 52.0 ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 1.4 ซี่ต่อคนมีภาวะเหงือกอักเสบ 66.3% มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กมีปัญหาการเกิดโรคฟันผุ ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ พฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากที่ไม่เหมาะสม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม ขนมกรุบกรอบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามกระแสนิยม การมีโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในเด็กวัยประถมศึกษา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุสูง เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มมีฟันแท้ขึ้นมาในช่องปาก สภาวะช่องปากของเด็กในกลุ่มนี้สามารถสะท้อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้น นักเรียนจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการสร้างเสริมพฤติกรรมและสร้างสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องมีการดำเนินการร่วมกันทั้งภาคการศึกษา ภาคสาธารณสุข และภาคประชาชน จากรายงานการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต จำนวน ๔ แห่ง ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ พบว่า นักเรียนในโรงเรียนบ้านบาโงสะโต จำนวนทั้งหมด ๑๓๑ คน มีนักเรียนฟันแท้ผุ ๕๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๘.๑๖ นักเรียนในโรงเรียนบ้านตราแด๊ะ จำนวนทั้งหมด ๑๒๗ คน มีนักเรียนฟันแท้ผุ ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๓๗.๗ นักเรียนในโรงเรียนบ้านบละแต จำนวนทั้งหมด ๖๔ คน มีนักเรียนฟันแท้ผุ ๒๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๗ นักเรียนในโรงเรียนประชาบำรุง จำนวนทั้งหมด ๘๕ คน มีนักเรียนฟันแท้ผุ ๔๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๔ จากการสำรวจปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนในโรงเรียน พบว่าปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการส่งเสริมป้องกันไม่ให้โรคในช่องปากเด็กวัยประถมศึกษาลุกลามและทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในชุมชนทั้ง ทันตบุคลากร ผู้ปกครอง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตลอดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ ๗ บ้านบาโงสะโต ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโงสะโต จึงเล็งเห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กและของตนเองได้อย่างยั่งยืนและเผยแพร่สู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง

นักเรียนมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้องร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง

นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองร้อยละ ๘๐

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี

นักเรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี ร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ และสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองได้อย่างถูกต้อง ๒.เพื่อให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง     ๓.เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 14:24 น.