กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กสู่ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเยาะ สลีมิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 38,500.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 38,500.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การพัฒนาประเทศให้มีการเจริญเติบโต แข็งแกร่ง ยั่งยืนในทุกด้าน ประการสำคัญมุ่งเน้นการพัฒนา คนเป็นหลัก เพื่อให้ได้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างมีศักยภาพจะต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์เพราะเด็กเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาให้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพใน งานอนามัยแม่และเด็กเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ของบริการสาธารณสุขที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป และกลุ่มประชาชนกลุ่มหนึ่งที่สำคัญ และเกี่ยวข้องกับกลุ่มอื่น ๆนั้นคือ หญิงตั้งครรภ์ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งการฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการพัฒนาคุณภาพประชากรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพื่อการตั้งครรภ์และการคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและมีสุขภาพแข็งแรง ครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุขซึ่งจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฝากครรภ์คุณภาพ คือการที่หญิงตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์ เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ก่อนคลอด 5 ครั้ง และรับรู้ถึงปัจจัยเสี่ยงของตนเอง วิธีการปฏิบัติตน ที่ถูกต้องที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการคลอดในสถานบริการสาธารณสุข และการดูแลหลังคลอดให้ครบ  3 ครั้งตามเกณฑ์เช่นเดียวกัน ปัจจุบันข้อมูลอนามัยและเด็ก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น พฤติกรรมการดูแลด้านสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของหญิงตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ไม่ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์มาตรฐาน หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์มากกว่า ๑๒ สัปดาห์  ภาวะซีด ทารกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงสูงต่อการทำให้เกิดปัญหาการป่วย และการตายของมารดาจากการตั้งครรภ์ การคลอด และระยะหลังคลอดได้ จากการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู ของปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ ๖๒.๕๐ (เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๗๐) หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์อายุครรภ์น้อยกว่า ๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๘.๙๕(เกณฑ์มากกว่าร้อยละ ๘๐) มารดามีภาวะซีดครั้งที่1 ร้อยละ ๓๕.๒๙ (เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๑๔) ทารกแรกคลอดน้ำหนักน้อยกว่า๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๒๐(เกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ ๗) ซึ่งยังมีบางตัวชี้วัดต่ำกว่าเกณฑ์ จากปัญหางานอนามัยแม่และเด็กดังกล่าวข้างต้น อาจส่งผลทำให้มารดาและบุตรมีความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยโดยในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ 2 ปี แรกของชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้าน อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กวัยก่อนวัยเรียน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ"ส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็กสู่ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปี 2565" เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ มีภาวะโภชนาการดีตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีการตั้งครรภ์เมื่อพร้อมตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป ไปรับการตรวจสุขภาพเร็วที่สุดตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ รับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 2.1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลตนเองหลังคลอด ตลอดจนสามารถดูแลลูกน้อยได้ ร้อยละ 80 2.2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์ที่แต่งงานและอยู่กินกับสามีมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม เพื่อตั้งครรภ์ ร้อยละ80 2.3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ 2.4 เพื่อให้แกนนำชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร้อยละ 80
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์และตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความตระหนัก ถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว โรคที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และทำให้การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ
  2. แกนนำสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักในงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดกลุ่มสตรีและเด็กดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหรือบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 15,600.00        
2 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานอยู่กินกับสามี(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 11,800.00        
3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำชุมชน(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 8,100.00        
4 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลแผนที่เดินดินตำบลนมแม่ และนำข้อมูลมาบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนตำบลนมแม่อย่างเป็นรูปธรรม(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 3,000.00        
รวม 38,500.00
1 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 15,600.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด 50 15,600.00 -
2 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานอยู่กินกับสามี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 11,800.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมและอบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่แต่งงานอยู่กินกับสามี 100 11,800.00 -
3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 63 8,100.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่แกนนำชุมชน 63 8,100.00 -
4 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลแผนที่เดินดินตำบลนมแม่ และนำข้อมูลมาบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนตำบลนมแม่อย่างเป็นรูปธรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,000.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อพิจารณาตรวจสอบข้อมูลแผนที่เดินดินตำบลนมแม่ และนำข้อมูลมาบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนตำบลนมแม่อย่างเป็นรูปธรรม 30 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธ์และตั้งครรภ์มีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองขณะตั้งครรภ์ และมีความตระหนัก ถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็ว โรคที่ก่อให้เกิดภาวะเสี่ยงในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น และทำให้การตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์คุณภาพ
  2. แกนนำสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องในชุมชนมีความตื่นตัวและตระหนักในงานอนามัยแม่และเด็ก
  3. ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดกลุ่มสตรีและเด็กดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาหรือบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2565 14:50 น.