กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลบ้านนา
รหัสโครงการ 65-L5184-02-24
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 19 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 204,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายบุญลาภ ชำนาญวารี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี 2565 ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และอีก 9 ปีข้างหน้า ในปี 2574 จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่า 28% ของประชากรทั้งประเทศ จากสถานการณ์ดังกล่าวจะทำให้มีผู้สูงอายุ “กลุ่มผู้ป่วยติดเตียง” ประมาณ 3% หรือ 4 แสนคน จากผู้สูงอายุที่มีอยู่ประมาณ 13 ล้าน (ข้อมูลมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.)) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลบ้านนาตระหนักและให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับมือและวางแนวทางเพื่อรองรับที่ประเทศไทยและประชากรในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนาเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ โดยมีนโยบายด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทุกกลุ่ม ซึ่งนโยบายสำคัญคือ การทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่แข็งแรง ชะลอการเกิดโรคและความเจ็บป่วยจนต้องอยู่ในภาวะพึ่งพิง และวางระบบการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจึงเป็นเรื่องสำคัญ  ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงเทศบาลตำบลบ้านนาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ จัดระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน และจัดเตรียมระบบดูแลในบ้าน สถานพักฟื้น และโรงพยาบาลที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชนและครอบครัว  ซึ่งการเตรียมระบบดูแลในบ้าน จำเป็นต้องมีสำรวจและค้นหาและประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุเพื่อจำแนกประเภทผู้สูงอายุ พร้อมทั้งเตรียมองค์ความรู้ให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ซึ่งในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านนามีประชากรทั้งหมด 9,701 คน ผู้สูงอายุจำนวน 1,280 คนคิดเป็น 13.19 % ของประชากรทั้งหมด มีอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุขั้นกลาง จำนวน 2 คน ทำให้บุคลากรในการออกให้การพยาบาลไม่ทั่วถึง และในปี งบประมาณ 2565 ได้มีการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงานโดยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุและทุกสิทธิ ทำให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) มีจำนวนไม่เพียงพอในการดำเนินงาน เทศบาลตำบลบ้านนาจึงได้จัดให้มีการจัดอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver) ตามหลักสูตรกรมอนามัย ๗๐ ชั่วโมง เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ จึงต้องมีการจัดการระบบข้อมูลทางด้านสุขภาพของผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลตำบลบ้านนา จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริการสำหรับผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านนา ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑ เพื่อให้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Care giver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ

1 อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน (Caregiver) มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุร้อยละ 90

2 ๒. เพื่อจัดระบบบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง และให้ผู้มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

1  ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงได้เข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ร้อย 90

  1. กลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิงได้รับการจัดการวางแผนการดูแล (Care plan) ร้อยละ 100
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 65 204,400.00 0 0.00
10 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 1.1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวจำนวน 20 คน ( 2 ครั้ง) 25 3,750.00 -
27 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 40 200,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและบุคคลอื่นมีภาวะพึ่งพิงได้รับบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น     2. บุคลากรในการดูแลระยะยาวมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิงแบบองค์รวม และสามารถให้การดูแลอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2565 00:00 น.