กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมกลุ่มเสี่ยงรู้ทันภัยยาเสพติด
รหัสโครงการ 65-l3007-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจิตอาสาทำดีด้วยใจชุมชนบ้านศาลบูดี
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาสานะห์ สาและ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้การป้องกันและแก้ไขยาเสพติดเป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะทำให้เด็กและเยาวชน มีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นที่ต้องการเรียนรู้อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด มัสยิดเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม นอกจากเป็นสถานที่ในการปฏิบัติศาสนกิจและปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชนและประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด มาในรูปแบบและวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ มากยิ่งขึ้น ทางโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนไทย ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อปลูกจิตสำนึกของเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงพิษภัยของยา เสพติดที่มีผลต่อร่างกาย สุขภาพอนามัย และส่งผลกระทบต่อปัญหาของสังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ

จัดกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยงให้มีความรู้เท่าทันโรคที่เกิดจากการใช้สารเสพติด -จัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มความตระหนักในการสร้างความอบอุ่นในครอบครัว

0.00
2 2 .เพื่อสร้างแกนนำในชุมชนให้ห่างไกลยาเสพติด และต่อต้านยาเสพติด

-จัดกิจกรรมพี่ดูแลน้องเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 อบรมและลงเยี่ยมบ้าน(1 ก.ค. 2565-30 ก.ย. 2565) 25,000.00      
รวม 25,000.00
1 อบรมและลงเยี่ยมบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 25,000.00 0 0.00
4 - 31 ส.ค. 65 ประชุมคณะทำงาน 20 2,200.00 -
4 ส.ค. 65 อบรม 100 15,300.00 -
4 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมคณะทำงาน แกนนำและกลุ่มเสี่ยง 30 7,500.00 -

1.จัดกลุ่มประชาชนที่สนใจมีส่วนร่วมในการดุแลผู้ป่วยที่เกิดจากการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดมาเขียนโครงการ 2.เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบิหารส่วนตำบลสะกำเพื่อพิจารณาอนุมัติ 3.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม ขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการเพื่อดำเนินการให้ถุกต้องตรงกับวัตภุประสงค์ที่กำหนด 4.กิจกรรมอบรมแกนนำให้มีความรู้ก่อนพบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมกลุ่มเสี่ยงรู้ทันโรคภัยจากการใช้สารเสพติด 5.เชิญวิทยากรจากกองร้อยทหารพรานในพื้นที่และเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขในตำบลมาให้ความรู้เกี่ยงกับโรคภัยที่เกิดจากการใช้สารเสพติด 6.จัดกิจกรรมดูแลกลุ่มเสี่ยงโดยการสร้างแกนนำปลอดยาเสพติดมาดูแลเสมือนพี่ดูแลน้อง 7.จัดกิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วยที่เกิดจากการใช้สารเสพติดเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้กับครอบครัว 8.ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน 9.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติดอย่างเหมาะสม
2.ลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดเข้ามาในชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้
3.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในและชุมชน 4.ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดในชุมชนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2565 09:54 น.