กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะเร็งเต้านมรู้เร็ว รักษาได้ ประจำปีงบประมาณ 2565
รหัสโครงการ l2498-65-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
วันที่อนุมัติ 3 มีนาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 กรกฎาคม 2565 - 5 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพาตีเมาะ นิแว (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ)
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.382,101.703place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์มะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบรายใหม่ต่อปีสูงที่สุดในโลกเมื่อนับรวมทั้งเพศชายและหญิง ซึ่งประเทศพัฒนาพบอุบัติการณ์สูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา ส่วนประเทศไทยยังเป็นมะเร็งที่พบรายใหม่มากที่สุดเฉพาะในเพศหญิง เนื่องจากอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมแปรผันตามรายได้ต่อหัวประชากร ซึ่งจากการพัฒนาประเทศของไทย ส่งผลให้รายได้ต่อหัวประชากรเพิ่มขึ้น จึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าในอนาคตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่มีแต่จะเพิ่มขึ้น สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านมที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด และปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือเพศหญิงและอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ การควบคุมมะเร็งเต้านมด้วยการลดการป่วยทำได้ยาก จึงมาเน้นที่การลดการตายจากมะเร็งเต้านม สำหรับยุทธศาสตร์ในการควบคุมมะเร็งเต้านมที่ทั่วโลกใช้คือการค้นหามะเร็งเต้านมให้พบแต่เริ่มแรก เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาที่รวดเร็ว เนื่องจากผลการรักษามะเร็งเต้านมระยะแรก ได้ผลการรักษาที่ดี ลดภาวะแทรกซ้อน อัตราการตายและต้นทุนการรักษาต่ำ อีกทั้งสามารถผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็ง การคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก มี 3 วิธีคือ วิธีแรกคือ การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self Examination หรือ BSE) ทุกเดือน วิธีที่ 2 คือ การไปสถานบริการเพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจเต้านมปีละ 1 ครั้ง และวิธีที่ 3 คือ การตรวจด้วยแมมโมแกรม การจะตัดสินว่าจะเลือกวิธีใดที่จะใช้เป็นชุดสิทธิประโยชน์ในการคัดกรอง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เรื่องที่มองดูง่าย แต่ไม่ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากการตรวจมะเร็งเต้านมมีมิติของสังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ความกลัว เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้หลายศาสตร์และหลายสาขาวิชาชีพเข้ามาบูรณาการในการทำงานร่วมกันถึงจะสามารถเพิ่มความครอบคลุมของการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างมีคุณภาพและสม่ำเสมอ จากการปฎิบัติงานในพื้นที่ตำบลยี่งอ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560-2565 พบผู้ป่วยรายใหม่ 9 คน เป็นการค้นพบรายใหม่ในระยะ Late stage เนื่องจากผู้ป่วยมีความกลัว อับอายไม่อยากให้ใครรู้ และต้องการไปรักษากับหมอบ้านตามความเชื่อ และจะมาหาหมอก็พบว่าอยู่ในระยะ 3-4 หรือแผลแตกเป็นดอกกะหล่ำไปแล้ว จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 9 คน ผู้ป่วยได้เสียชีวิตจำนวน 3 คน กำลังรักษา 5 คน และปฎิเสธการรักษา 1 คน และเชื่อว่ายังมีจำนวนผู้ป่วยอีกหลายคนที่ยังไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ด้วยเหตุนี้ผู้รับผิดชอบงานมะเร็งได้เล็งเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองด้วยตนเองอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้งหรือตรวจโดยเจ้าหน้าที่ปีละหนึ่งครั้งเพื่อเป็นการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ในระยะ Early stage (ระยะ 1-2)จึงได้จัดทำโครงการมะเร็งเต้านมรู้เร็วรักษาได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ในระยะ Early stage (ระยะ 1-2)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับดี

0.00
2 กลุ่มผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อวินิจฉัย

ร้อยละ 80 ของกิจกรรมมีการประเมินผลการป้องกันและแก้ปัญหาของผู้เข้าร่วมโครงการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 30,840.00 0 0.00
26 ก.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย 210 30,840.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมที่ถูกต้อง
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและบันทึกผลของตนเองและสมาชิกที่รับผิดชอบได้
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการบันทึกและส่งต่อกลุ่มเป้าหมายเมื่อตรวจพบสิ่งผิดปกติได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2565 13:37 น.