กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนคนโกตาบารูสุขภาพดีด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 17 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเยาะ สลีมิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 58,400.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 58,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้าน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยตั้งแต่บรรพบุรุษ      มีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ และสามารถต่อสู้กับโรคภัยต่างๆได้ แต่ในปัจจุบันภูมิปัญญาการแพทย์อันมีค่าเหล่านี้ได้ลางเลือนไปกับกาลเวลา ประชาชนต้องพึ่งหมอและโรงพยาบาลมากขึ้น ขาดการดูแลสุขภาพโดยการพึ่งพาตนเอง การแพทย์แผนไทยเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้กับคนในชุมชนได้แบบปฐมภูมิ มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ดังนั้นจึงได้ทำการโครงการ เพื่อช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความเข้าใจในการแพทย์แผนไทย มองเห็นคุณค่าของยาไทย สมุนไพรไทย ที่มีอยู่มากมายในชุมชนของตนเอง และรู้จักเลือกสรรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวตามแนวทางการแพทย์แผนไทยเพื่อประชนคนไทยมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้า

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินคัดกรองสุขภาพและภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 2. เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาทักษะ กาย ใจ ในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและแกนนำชุมชน 3. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้มีนวัตกรรมการส่งเสริมดูสุขภาพและป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 4. เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์ การแพทย์แผนไทยโดยครอบครัว ชุมชน
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพและภาวะสมองเสื่อม มากกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสื่อมและแกนนำชุมชนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาทักษะกาย ใจ มากกว่าร้อยละ 80
  3. ผู้สูงอายุและแกนนำชุมชนมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยครอบครัว ชุมชนได้ มากกว่าร้อยละ 80
  4. สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย พร้อมฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว ตลอดจนในชุมชนได้
50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65
1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 29,200.00        
2 อบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรมสูงวัยสดใสห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย(17 มิ.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 29,200.00        
รวม 58,400.00
1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 29,200.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุ 110 29,200.00 -
2 อบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรมสูงวัยสดใสห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 29,200.00 0 0.00
17 มิ.ย. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมเชิงปฏิบัติการโดยใช้โปรแกรมสูงวัยสดใสห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 110 29,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินคัดกรองสุขภาพและภาวะสมองเสื่อม มากกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้สูงอายุกลุ่มเสื่อมและแกนนำชุมชนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาทักษะกาย ใจ มากกว่าร้อยละ 80
  3. ผู้สูงอายุและแกนนำชุมชนมีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมโดยครอบครัว ชุมชนได้ มากกว่าร้อยละ 80
  4. สามารถเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุให้ห่างไกลสมองเสื่อมด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย พร้อมฝึกทักษะผู้เข้ารับการอบรม ให้สามารถดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัว ตลอดจนในชุมชนได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 2565 13:52 น.