กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเพื่อผู้สูงวัยมีสุขภาวะที่ดีหมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-L5293-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม.หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม
วันที่อนุมัติ 21 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 21 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2565
งบประมาณ 16,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอัจฉรา เต้งหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 7.108,99.807place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 21 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 16,050.00
รวมงบประมาณ 16,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผลจากการสำรวจคัดกรองเพื่อจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์และคัดครองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ของอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตหมู่ที่5 บ้านท่าขาม ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลปีงบประมาณ ๒๕๖5 ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้า ในการดูแลภาวะสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย ซึ่งอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่5 บ้านท่าขาม ได้ดำเนินการร่วมกันกับฝ่ายส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลทุ่งหว้า และองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งหว้าในการดูแลสุขภาพและคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ ทั้งโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆ เช่นมีรอบเอวเกิน อ้วนลงพุง ร่วมทั้งพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มวัยสูงอายุในเรื่องของการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร และอารมณ์ประชากรกลุ่มวัยสูงอายุหมู่ที่ 5 จำนวน 60  คน ได้รับการคัดกรองและประเมินพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์จำนวน 60 คน ๕ องค์ประกอบคือ ๑. ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน ครั้งละ ๑๕-๓๐ นาที ๒. รับประทานผักและผลไม้สดเป็นประจำ(อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๕ วัน) ๓. ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ ๘ แก้วเป็นประจำ ๔. ไม่สูบบุหรี่/ยาเส้น ๕. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์(เช่น สุรา เบียร์ ยาดองเหล้า) กลุ่มวัยผู้สูงอายุ ในเขตหมู่ที่ 5 บ้านท่าขามมีจำนวนมากกว่าร้อยละ ๖๐ ที่มีพฤติกรรมสุขภาพไม่พึงประสงค์ และมีภาวะเครียดจากการถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียวและขาดลูกหลานดูแล ดังนั้นการได้จัดกิจกรรมกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพกายและใจเพื่อผู้สูงวัยมีสุขภาวะที่ดี หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลในกลุ่มวัยผู้สูงอายุและการให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมสันทนาการคลายเครียดมีความรู้ด้านสุขภาพจิตเพื่อปรับสภาพจิตใจและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อลดอัตราความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเบาหวานและความดันโลหิตสูง อีกทั้งในรายกลุ่มที่เป็นโรคจะได้ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆได้ รวมทั้งช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้า ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม จึงได้จัดทำโครงการกิจกรรม สร้างเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตเพื่อผู้สูงวัยมีสุขภาวะที่ดี หมู่ที่ 5 บ้านท่าขาม ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพทางกายที่พึงประสงค์และสุขภาพจิตที่ดี

ร้อยละ ๘๐ ของสมาชิกกลุ่มผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

0.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไปใช้ในการดูแลสุขภาพตนเองได้

ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดูแลตนเองได้

0.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนหมู่ที่ 5 บ้านท่าขามสามารถนำอุปกรณ์ที่ได้รับไปใช้ออกกำลังกายด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้สูงอายุสามารถดำเนินกิจกรรมออกกำลังกายด้วยตนเองได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชากรกลุ่มเสี่ยงวัยสูงอายุเข้ารับการอบรมเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ๒. ประชากรกลุ่มเสี่ยงวัยสูงอายุเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยยึดหลัก ๓อ.๒ส. ๓. มีการดำเนินงานในชุมชน ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง ๔. ประชากรกลุ่มวัยสูงอายุมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2565 09:16 น.