กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและสร้างเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2565 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ L5248-01-65-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 28,870.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางทิพย์ พรหมณี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 136 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน คนไทยเจ็บป่วยและตายด้วยโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อการจัดบริการทั้งบริการสารณสุขทั้งระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ผู้ป่วยยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข    เพราะเป็นกลุ่มโรคที่มีปัจจัยสาเหตุการนำสู่โรคจากปัจจัยเสี่ยงร่วม และเสียชีวิตก่อนวัยอันควร  ซึ่งโรคนี้เหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมที่ไม่ถูกต้อง การขาดการออกกำลังกายที่ถูกต้อง การรับประทานอาหารที่มันจัด เค็มจัด หวานจัด รวมทั้งผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ ความเครียด การสูบบุหรี่และดื่มสุรา เป็นต้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชน อย่างจริงจัง เพื่อให้ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 วันๆละอย่างน้อย 30 นาที ร่วมกับรับประทานผักสดวันละอย่างน้อย  5 ขีดขึ้นไป(ครึ่งกิโลกรัม) และลดอาหารไขมัน จะช่วยลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้         จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มประชากรอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนนปี 25๖4 ที่ผ่านมา (ตค.๖3 – กย.64 ) ประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการ คัดกรองเบาหวาน 1,022 คนและเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน 344 คน คิดเป็นร้อยละ 33.66  พบกลุ่มสงสัยป่วย 35 คน คิดเป็นร้อยละ 3.42 พบ ผู้ป่วยรายใหม่ในปี 7 คนคิดเป็นร้อยละ 0.68 และประชากร 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองความดันโลหิตสูง 855 คนและเสี่ยงต่อโรค 66 คน คิดเป็นร้อยละ 7.72  พบกลุ่มสงสัยป่วย 91 คน คิดเป็นร้อยละ 10.64 พบผู้ป่วยรายใหม่ในปี 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.63 ประชากรกลุ่มเสี่ยง ,ผู้ป่วย มีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง การกินยาไม่ต่อเนื่อง หยุดยาเอง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน จึงได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดโรคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดกลุ่มป่วยรายใหม่และลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ ๑. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและกลุ่มผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน น้อยกว่าร้อยละ  2.05
อัตราประชากรกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้าน มากกว่าร้อยละ  30
          กลุ่มผู้ป่วยสามารถควบคุมเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้  ร้อยละ 50

0.00
2 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 2 เพื่อให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและกลุ่มผู้ป่วย

ตัวชี้วัดความสำเร็จ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง  กลุ่มผู้ป่วยเข้ารับการอบรมร้อยละ ๙๕

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ ขั้นเตรียมการ
1. ผู้รับผิดชอบงานทบทวนปัญหาอุปสรรคในการจัดทำโครงการตามแผนของปีที่ผ่านมา 2. จัดทำโครงการนำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริกเพื่อขออนุมัติ ขั้นดำเนินการ 3. ผู้รับผิดชอบงานจัดทำแผนดำเนินงานตามโครงการ 4. ดำเนินการตามโครงการ 5. ติดตามความก้าวหน้าของโครงการและปัญหา อุปสรรคทุก 3 เดือน 6. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและกลุ่มผู้ป่วยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ได้รับความรู้ กลุ่มเสี่ยงสูงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและกลุ่มผู้ป่วย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2565 16:14 น.