กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรอง และส่งเสริมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปี2565
รหัสโครงการ L5248-01-65-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 35,372.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางศิริจัทร์พร พลเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 35,372.00
รวมงบประมาณ 35,372.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 29 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 296 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาหลายปีแล้ว ข้อมูลประจำปี 2561 พบว่า มีประชากรทั้งหมด
66.4 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 10.6 ล้านคน นับเป็นร้อยละ 16.06 ในปี 2562 ประชากรผู้สูงอายุมีมากถึง 11.6 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของประชากรทั้งหมดจำนวน 69.3 ล้านคน และประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในปี 2565 โดยจำนวนผู้สูงอายุจะอยู่ราวร้อยละ 20-30 และที่สำคัญกว่านั้น ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 28 ในปี 2574 จะเห็นได้ว่า ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิงหรือภาวะโดยรวมที่ ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆ ทั่วไปเริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจและสังคม
ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชนเนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น เช่นนี้เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ทำให้อัตราการตายลดลงผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพาไม้สามารถช่วยเหลือตังเองได้หรือช่วยเหลอตนเองได้น้อยหรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ และสามารถดูแลตนเองได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ :ผู้สูงอายุได้รับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ ร้อยละ 90

0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและแก้ปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้สูงอายุสามารถ ตอบคำถาม หรือสาธิตย้อนกลับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
มากกว่าร้อยละ 80

0.00
3 3. เพื่อแยกกลุ่มผู้สูงอายุ และเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : สามารถแบ่งผู้สูงอายุ เป็น 3กลุ่ม ตาม ADL กลุ่มที่ 1 , 2 ,3

0.00
4 4. เพื่อส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพเพื่อเข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที

ตัวชี้วัดความสำเร็จ : ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินการ 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุข ในเรื่อง การป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง การป่วยด้วยโรคเบาหวาน อาหารสำหรับผู้สูงอายุ -การออกกำลังกาย (การบริหารร่างกาย) ในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่ 2.กิจกรรมคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้แบบ (Basic Geriatric Screnning, BGS) พร้อมทั้งแปรผล
โดยมีการตรวจ
  - ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต และ เจาะน้ำตาลในเลือด
- สุขภาพช่องปาก - สุขภาพทางตา - การทดสอบสภาพสมอง   - การคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม - การคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม – การคัดกรองภาวะหกล้ม โดยเจ้าหน้าที่ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุข       - วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำสภาวะสุขภาพของกลุ่มผู้สูงอายุและส่งต่อผู้ที่มีผลผิดปกติเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง 4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุมีสุขร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อเข้ารับการรักษาต่อไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2565 14:58 น.