กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอสม.เฝ้าระวัง ความดัน เบาหวานในชุมชน ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L5248-02-65-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อสม. หมู่ที่ 1
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 15,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกานดา มาลา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 15,900.00
รวมงบประมาณ 15,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสภาวะปัจจุบัน อสม.พบว่าคนในชุมชนมีปัญหาด้านสุขภาพในเรื่องความดัน เบาหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ อสม.ต้องเฝ้าระวังในเรื่องของการคัดกรองวัดความดัน เบาหวาน อยู่ตลอดทุกเดือน เครื่องวัดความดันก็มีความจำเป็นสำหรับ อสม.ทุกคน เพื่อจะช่วยกันคัดกรองดูแลกลุ่มเสี่ยงที่รับผิดชอบ ซึ่งความดันเบาหวานก็จะนำไปสู่โรคอีกหลายโรค อสม.จึงอยากให้คนในชุมชนที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ได้มีความเข้าใจการดูแลตัวเองและได้ดูแลคนรอบข้างอีกด้วย การอบรมก็คงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำเพื่อให้ได้เข้าใจหลักการความเป็นอยู่ในการดูแลตัวเองได้อย่างถูกต้อง อสม.ก็อยากให้คนในชุมชนได้ดูแลตัวเองและไม่มีโรค มีสุขภาพดีทั้งชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองจากโครงการได้อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองและปฏิบัติเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อลดการเกิดโรคความดัน เบาหวาน ในชุมชน

สามารถ  ลดโรคความดันเบาหวานในชุมชนได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีการดำเนินงาน วิธีดำเนินงาน 1.แจ้งให้ที่ประชุมหมู่บ้านทราบว่า กลุ่ม อสม.จะเขียนโครงการเพื่อของบประมาณ สปสช. จาก อบต.ปริก  ทำโครงการอบรมกลุ่มเสี่ยงอายุ 30 ปีขึ้นไป 2. เขียนโครงการโดย อสม. เพื่อของบประมาณจากกองทุน สปสช.จากอบต.ปริก 3. ประสานเจ้าอาวาสเพื่อขอใช้สถานที่อบรม 4. ทำหนังสือเชิญ ผอ.และเจ้าหน้าที่เพื่อเชิญเป็นวิทยากรในการอบรม 5. ดำเนินกิจกรรมโครงการตามงบประมาณที่สนับสนุนจากกองทุน งบประมาณรายละเอียดค่าใช้จ่าย 1. ค่าบำรุงสถานที่อบรม  500.- บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 25 บาท จำนวน 80คน        2,000.-บาท 3. ซื้อเครื่องวัดความดันและเครื่องชั่งน้ำหนัก จำนวน 3 เครื่องๆละ 3,000 บาท และเครื่องชั่งหน้ำหนัก 1 เครื่อง 1,000 บาท        10,000.-บาท 4. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท  1,800.- บาท 5. ค่าแผ่นไวนิลขนาด 1x2 เมตรๆละ 150 บาท          300.- บาท 6. ค่าอุปกรณ์เอกสารอื่นๆ (สมุด,ปากกา,แฟ้มฯลฯ)  1,000.- บาท 7. ค่าเอกสารสรุปโครงการ 2 เล่ม  300.- บาท คิดเป็นเงินทั้งหมด 15,900 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันเก้าร้อยบาทถ้วน) หมายเหตุ  ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยจ่ายได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจ ด้านการดูแลตัวเองในเรื่องความดัน เบาหวาน ได้มากขึ้น 2.ผู้เข้ารับการอบรมสามารึปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองได้อย่างถูกต้อง 3.ผู้เข้ารับการอบรม ได้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคความดัน เบาหวานในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2565 16:14 น.