กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมเชิงปฏิบัติการ
รหัสโครงการ 65-L5298-02-20
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังพะเนียด
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 30,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไพรินทร์ แก้วทองมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ ๗ ตำบลเกตรี อำเภอเมืองสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็ง คือ เซลล์ที่เปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อร้ายเติบโตและขยายตัวในหลอดเลือดและน้ำเหลือง กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายซึ่งหากเป็นส่วนที่สำคัญเช่นปอดตับสมองก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว มะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุการตายในอันดับต้น ๆของมะเร็งในสตรีไทย พบได้ประมาณ๒๐.๐ต่อประชากรสตรีแสนคนและพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ ๖,๐๐๐คน พบมากในช่วง30- ๖๐ปีในปีหนึ่ง ๆพบว่ามีสตรีป่วยเป็นโรคนี้ทั่วโลกทั้ง ๆ ที่เป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ ตั้งแต่เซลล์เริ่มผิดปกติ และสามารถรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น เพราะมีการดำเนินโรค แบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจวินิจฉัยง่ายกว่าอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้เร็วก่อนที่จะเป็นมะเร็งลุกลามจากการตรวจภายในและเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูกไปตรวจหรือที่เรียกว่าการทำ แป๊ปสเมียร์ (Pap smear)และวิธีตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกด้วยการใช้น้ำส้มสายชูชนิดเจือจาง ( VIA : VisualInspection with Acetic acid ) ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งในการตรวจหาความผิดปกติของปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็งและสามารถทราบผลในทันทีที่ตรวจเสร็จหากมีความผิดปกติจะได้รับการรักษาด้วยวิธีจี้เย็น( Cryotherapy )ฉะนั้น ผู้หญิงที่มีอายุ๓๐ ปีขึ้นไปควรตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจหาความผิดปกติก่อนเป็นมะเร็งส่วนมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรีไทยเป็นที่สองรองจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ อัตราการเป็นมะเร็งเต้านม พบมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ ๑ ใน ๑๐ ของผู้หญิง มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงหนึ่งของชีวิตปัจจุบันหญิงไทยป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มสูงขึ้นทุกปีอุบัติการณ์ที่พบเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงอายุ30ปีขึ้นไป มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ผลการรักษาดียิ่งพบเร็ว ยิ่งง่ายต่อการรักษาซึ่งการตรวจคัดกรองพบโรคในระยะเริ่มแรกจะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยให้น้อยลง และลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยและสถานบริการ
จากสถิติ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังพะเนียดอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลพบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก 10เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มเป้าหมายและมะเร็งเต้านม 15 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มเป้าหมาย และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมซึ่งพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้ายซึ่งถ้าเราตรวจค้นพบในระยะแรกก็ทำการรักษาให้หายได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังพะเนียดอำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลจึงได้จัดทำโครงการสตรีมีความรู้สู้ภัยมะเร็งขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการตรวจมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม อีกทั้งได้รับการรักษาในระยะก่อนเป็นมะเร็งเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งในสตรี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะเสี่ยงและสามารถปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรค

ร้อยละ 100 ของประชากร กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภาวะเสี่ยงและสามารถปฏิบัติตนเพื่อลดภาวะเสี่ยงในการเกิดโรค ได้อย่างถูกต้อง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงสามารถค้นพบความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็งและำด้รับการรักษาส่งต่อแพทย์ในกรณีที่จำเป็น

ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรักษาตามมาตรฐาน

0.00
3 ๓. เพื่อลดอัตราการเกิดโรค มะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งเต้านม

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยงลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก  และ มะเร็งเต้านม

0.00
4 ๔. เพื่อให้กลุ่มสตรีสามารถเผยแพร่ความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่ผู้อื่นได้

ร้อยละ 100 กลุ่มสตรีสามรถเผยแพร่ความรู้และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองแก่ผู้อื่นได้

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,750.00 1 30,750.00
??/??/???? จัดกิจกรรม 0 0.00 -
1 ม.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรม 0 30,750.00 30,750.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. สามารถลดอัตราการป่วยของโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจเต้านมด้วยตนเองได้ถูกต้อง ๔. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก , มะเร็งเต้านมและสามารถเผยแพร่ความรู้แก่ ผู้อื่นได้ถูกต้อง ๕. สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการรักษา/ส่งต่อพบแพทย์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 08:57 น.