กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Oryor School)
รหัสโครงการ 65-L3332-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านหาดไข่เต่า
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 สิงหาคม 2565 - 26 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 26 กันยายน 2565
งบประมาณ 18,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีรัตน์ เอ้งฉ้วน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาปะขอ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม กำกับ ดูแลและบังคับใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภคที่ส่งผลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพ ประกอบด้วย อาหาร ยา เครื่องส าอาง อาหารเสริม เป็นต้น แม้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวล้วนมี มาตรการภาครัฐ สำหรับควบคุมคุณภาพมาตรฐานและโดยเฉพาะอย่างยิ่งความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ก็มีรายงานการตรวจพบ สารอันตรายห้ามใช้หรือสิ่งควบคุมเกินมาตรฐานก าหนดในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆมาโดยตลอด การด าเนินงานเฝ้า ระวังความปลอดภัยในการบริโภค ด้านอาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆเช่น อาหาร ยา เครื่องส าอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคด้านต่างๆในชุมชน เนื่องจาก พบว่าในหมู่บ้านที่ห่างไกลความเจริญ สื่อความรู้ ต่างๆเข้าไม่ถึงหรือยังมีน้อย พบว่ามีร้านค้าในชุมชน รวมทั้งรถเร่ นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ มาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทย มาจำหน่ายแก่ประชาชนในชุมชน ประกอบกับในปัจจุบัน มีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพในคลื่นวิทยุชุมชน ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคด้านต่างๆ อาจตก เป็นเหยื่อ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาเหล่านั้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์ยาปฏิชีวนะและอาหารเสริมที่มีส่วนผสมสเตียรอยด์ ทำให้เกิดการรับสารที่อันตรายและได้รับ อย่างไม่สมเหตุสมผล ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนระยะยาว เนื่องด้วยสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 ทำให้เราทุกคนต่างต้องปรับตัวเข้าสู่การใช้ชีวิตแบบวิถี New Normal อย.จึงได้พัฒนาให้มีโรงเรียนออนไลน์ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Oryor School (อย.สคูล) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีระบบการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ https://oryor.com (school.oryor.com) โดย อย.สคูล มีบทเรียนออนไลน์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร (ฉลากโภชนาการ ฉลาก GDA และสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ หรือ Healthier Choice) สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งยังคงเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของประเทศไทย โดยสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่ง ของการเกิดโรค NCDs มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคอาหารอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งผู้บริโภคสามารถใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ดังกล่าว ในการศึกษาวิธีการอ่านข้อมูลบนฉลาก เพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่หวาน มัน เค็ม น้อย รวมทั้งยังมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเครื่องสำอาง โดยแนะนำวิธีอ่านฉลาก แนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงสารห้ามใช้อย่างไร เพื่อไม่ให้ได้รับอันตรายจากสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางนั้น ๆ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากยาชุด เพราะถึงแม้การใช้ยาชุดจะเห็นผลดีในช่วงแรก แต่จะมีอันตรายร้ายแรงตามมามากมาย และความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลก ที่หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด อาจเกิดเชื้อดื้อยา ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ อีกทั้งยังมีสื่อให้ความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินโฟกราฟิก วิดีโอคลิป จากการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ผ่านมาพบว่า การใช้เครื่องอุปโภค บริโภคที่ไม่ได้มาตรฐานจากร้านขายของชำในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ จำหน่ายให้กับประชาชนในชุมชน และยังจำหน่ายยาบางชนิดที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ความรู้เรื่องประเภทของยาแต่ละชนิดที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านขายของชำ และจำหน่ายให้กับร้านค้าในชุมชนได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคทั้งสิ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบและเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ ตลอดจนเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านขายของชำในหมู่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาดไข่เต่า จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สุขภาพ บริการสุขภาพและอาหารปลอดภัย

แกนนำสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอาง อย่างเหมาะสมและปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ลดปัญหาเชื้อดื้อยา ตามวิถีของ New Normal

0.00
2 เพื่อให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ตัวแทนแกนนำด้านสุขภาพในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

แกนนำสุขภาพสามารถใช้งานเว็บไซต์ Oryor School (อย.สคูล) ได้

0.00
3 เพื่อให้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

เกิดเครือข่ายคุมครองผู้บริโภคในชุมชน มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 เครือข่าย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,750.00 0 0.00
26 ส.ค. 65 จัดอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทนแกนนำสุขภาพ จำนวน 81 คน 0 13,500.00 -
26 ส.ค. 65 ค่าวัสดุอื่นๆ 0 5,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. แกนนำสุขภาพมีความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหาร ยา เครื่องสำอาง อย่างเหมาะสมและปลอดภัยและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ลดปัญหาเชื้อดื้อยา ตามวิถีของ New Normal
  2. แกนนำสุขภาพสามารถใช้งานเว็บไซต์ Oryor School (อย.สคูล) ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 00:00 น.