กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก ฟันสวย ยิ้มใส โรงเรียนบ้านตะบิ้ง
รหัสโครงการ 65-L3053-2-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตะบิ้ง
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 25 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 39,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮัมดี บูงอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 210 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กวัยเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมีโอกาสทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวด ขาดเรียน และกระทบการดำเนินกิจกรรมประจำวัน การส่งเสริมสุขภาพช่องปากในโรงเรียนจึงมีความสำคัญ และสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีจึงมีผลต่อสุขภาพที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิดจากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย เช่น โรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายอย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคในช่องปาก เช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสุขภาพช่องปาก และการทำความสะอาดช่องปากของตนเอง การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต่าง ๆ ล้วนมีส่วนทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน
ดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพช่องปากแก่เด็กวัยเรียน พร้อมทั้งการเสริมความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูกวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กนั้น ๆเพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักว่า เรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ และหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมซึ่งจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปาก ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีด้วย
โรงเรียนบ้านตะบิ้งมีนักเรียน จำนวน 212 คน นักเรียนฟันผุ จำนวน 50 คน เหงือกอักเสบ จำนวน 100 คน นักเรียนที่ต้องคอยระวังจำนวน 65คน โรงเรียนบ้านตะบิ้งจึงมีความตระหนักต่อสุขภาพในช่องปากของนักเรียนเป็นอย่างมาก และเน้นให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ เรื่องสุขภาพ และสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่าง ๆเพื่อให้เด็กเกิดความตระหนักว่าเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาไม่ได้อยู่ไกลตัวของเรา และเพื่อให้นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ไปยังกลุ่มเพื่อน ผู้ใหญ่ผู้ใกล้ชิดต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากให้เด็กวัยเรียนชั้นอนุบาล 1-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ร้อยละของนักเรียนร่วมกันปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสุขภาพฟัน และช่องปาก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,350.00 0 0.00
22 ส.ค. 65 กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน 0 9,350.00 -
22 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมที่ 2 การสาธิตการแปรงฟัน และการแปรงฟันหลังอาหารเที่ยงทุกวัน 0 30,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการดูแลช่องปากและสุขภาพฟัน
  2. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 แปรงฟันถูกวิธี
  3. เด็กก่อนวัยเรียนและเด้กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีสุขภาพในช่่องปากที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2565 19:34 น.