กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนสะกำใส่ใจวัยใสปลอดโรคทางเพศไม่ท้องก่อนแต่ง
รหัสโครงการ 65-l3007-02-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีแกร่งอาสาทำดีบ้านศาลาบูดี
วันที่อนุมัติ 22 กรกฎาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาซีตอห์ ยูโซะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะกำ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.72,101.462place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 ก.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 16,000.00
รวมงบประมาณ 16,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันในหลายพื้นที่ของโลก พบว่ายังมีเยาวชนอีกจำนวนมากที่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่โดยได้รับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือถูกตัดสินคุณค่า โดยเฉพาะเรื่อง‘เพศ วิถีศึกษา’ ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการด้านร่างกาย สังคม และอารมณ์ การไม่ได้รับการเตรียมความพร้อมอย่างเพียงพอเช่นนี้ นอกจากจะทำให้เด็กและเยาวชนเปราะบางมากขึ้นต่อการถูกแสวงหาประโยชน์และต่อผลเสียอื่น ๆ แล้ว ยังสะท้อนถึงความล้มเหลวของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในสังคมที่มีต่อเยาวชนทั้งหมดอีกด้วย การเรียนรู้ของผู้คนในยุคปัจจุบันจึงเป็นเพียงการลอกเลียนแบบพฤติกรรมผ่านเทคโนโลยีสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ เช่น เฟสบุ๊ค ยูทูป วิดีโอต่างๆ เป็นต้น โดยขาดการวิเคราะห์ พิจารณา ที่เท่าทันและเหมาะสม ซึ่งส่วนหนึ่งผู้ดูแลที่เป็นคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่เท่าทันต่อความสมัยใหม่ เพราะเติบโตในวัฒนธรรมการสอนที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมทางเพศจำนวนมากที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเพศ (gender) การดูแลสุขภาวะอนามัยที่เหมาะสมและขาดทักษะการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ได้รับการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง การขาดความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดที่ถูกวิธีและปลอดภัย ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองเมื่อต้องอยู่กับเพศตรงข้ามตามลำพัง ส่งผลให้มีเพศสัมพันธ์ไม่พร้อมและขาดการป้องกัน ผู้หญิงหลายคนถูกล่อลวงไปข่มขืนและอนาจารทางเพศ เงื่อนไขดังกล่าวนำไปสู่การตั้งครรภ์ไม่พร้อมนับเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงและส่งผลต่อสังคมไทยมากขึ้นเรื่อยๆ

ทีมจิตอาสาญาลันนันบารู ได้จัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพศวิถีศึกษา และดูแลสุขภาวะอนามัย เยาวชน คน สะกำ. เพื่อให้ประชาชน.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา และสุขภาวะอนามัยที่ถูกต้อง ดังนั้น การเรียนรู้ ‘เพศวิถีศึกษา’ คือการเรียนการสอนหลักสูตรเพศวิถีศึกษา ทั้งในแง่ความนึกคิด อารมณ์ กายภาพ และสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ สุขภาวะ และศักดิ์ศรีอย่างสมบูรณ์ พัฒนาสัมพันธภาพทางสังคมและความสัมพันธ์ทางเพศที่เคารพซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบจากการตัดสินใจของตนต่อสุขภาวะของตนเองและผู้อื่น อีกทั้งเข้าใจและสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิตฝึกให้ประชาชนได้คิดถึงปัญหาทางเพศ การแก้ไขและการป้องกันปัญหา ที่จะเกิดกับตนเอง ร่วมทั้งให้เล็งเห็นความสำคัญ การตระหนักและเห็นคุณค่าของตนเอง ทักษะการปฎิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติและปรับใช้ต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม ให้มีความปลอดภัยในการดำรงชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้มีความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา และสุขภาวะอนามัยที่ถูกต้องได้

 

0.00
2 ข้อที่ 2.เพื่อให้ประชาชนสามารถแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับตนเอง ร่วมถึงทักษะการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศวิถีศึกษา

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
22 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรมคณะทำงาน แกนนำ 20 2,200.00 -
22 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 อบรม 60 11,400.00 -
9 ส.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 ลงเยี่ยมบ้าน/ลงพื้นที่ 0 2,400.00 -
รวม 80 16,000.00 0 0.00

.จัดกลุ่มประชาชนที่สนใจมีส่วนร่วมในการรณรงค์เรื่องเพศวิถีมาเขียนโครงการ 2.เสนอโครงการต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบิหารส่วนตำบลสะกำเพื่อพิจารณาอนุมัติ 3.ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการจัดกิจกรรม ขั้นตอนการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการเพื่อดำเนินการให้ถุกต้องตรงกับวัตภุประสงค์ที่กำหนด 4.กิจกรรมอบรมแกนนำให้มีความรู้ก่อนพบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5.เชิญวิทยากรจากกศน.และรพสต.ในพื้นที่ตำบลสะกำมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภัยที่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ 6.ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน 7.รายงานผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศวิถี 2.ลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทางเพศ และสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลความไม่ถูกต้องเรื่องเพศกับหลักศาสนา 3.สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเพศวิถีในชุมชน 4.ประชาชน ได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับเพศวิถีในชุมชนสามารถใช้เป็นข้อมูลในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้อย่างเหมาะสม

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:02 น.