กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจ เข้าใจ ป้องกันข้อเข่าเสื่อม ประจำปี 2565
รหัสโครงการ L5248-02-65-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่10
วันที่อนุมัติ 2 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจรวย เพ็ชรแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.694,100.473place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 14,550.00
รวมงบประมาณ 14,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นเป็น 570 ล้านคน ในปี  พ.ศ. 2563 ร้อยละ 50 เป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ปัจจุบันสังคมไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ จากการศึกษา พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีอาการปวดเข่า ร้อยละ 43.9 ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จะเกิดความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป  เดินได้ไม่ปกติ ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่างๆได้ไม่สะดวก มีความทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ osteoarthritis of knee คือ โรคที่มีการเสื่อมของข้อเข่า ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือ ที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) ชนิดที่มีเยื่อบุ (diarthrodial joint) โดยพบการทำลายของกระดูกอ่อนผิวข้อ และกระดูกบริเวณใกล้เคียง เช่น ขอบกระดูกในข้อ (subchondral bone) หนาตัวขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำไขข้อ ทำให้การหล่อลื่นลดลง มักพบปัญหาเหล่านี้ในผู้สูงอายุ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ทำให้เกิดความทรมานแก่ผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง คุณภาพชีวิตลดลง และทำให้โรคอื่นๆกำเริบ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากออกกำลังไม่ได้ โรคข้อเข่าเสื่อมทำให้เกิดอาการปวด เข่าบวม เข่าฝืดยึด มีเสียงในเข่า ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ดังปกติ ซึ่งมีความรุนแรงมากน้อยต่างกันไป สาเหตุมีได้หลายประการ เช่น ผลสะสมจากความเสื่อมและการใช้ข้อเข่าที่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วัยหนุ่มสาว การที่มีน้ำหนักตัวมากๆทำให้ต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในทุกขณะที่ก้าวเดิน หรือเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณเข่ามาก่อน จากการสำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่บ้านควนเสม็ด พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในเรื่องโรคข้อเข่าเสื่อม และวิธีป้องกันโรคอย่างถูกต้อง จึงมีปัญหาปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกายเป็นประจำ และมักมีการใช้ยาแก้ปวด ยาชุด ยาซอง มาบรรเทาอาการปวด ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องข้อเข่าเสื่อม โดยการป้องกันหรือชะลอ ไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าว รวมถึงแนวทางการดูแลตนเองจากอาการข้อเข่าเสื่อม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเอง

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม ภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเอง

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและอาการปวดเมื่อย

กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการป้องกันอาการปวดข้อเข่าและอาการปวดเมื่อย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

วิธีดำเนินงาน 1. ขั้นตอนวางแผนงาน - ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมาย จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ - แต่งตั้งผู้ปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ - ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน 2. จัดทำโครงการเพื่อขอนุมัติต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ - ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านหอกระจายข่าว อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชน แจ้ง กลุ่มเป้าหมายทราบตามแผนการดำเนินงาน - จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายเรื่อง
เรื่อง ข้อเข่าเสื่อม
เรื่อง การป้องกันและวิธีการดูแลตัวเองจากโรคข้อเข่าเสื่อม
สาธิตการบริหารเข่า
4. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก งบประมาณ งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปริก จำนวน 14,550 บาท
(หนึ่งหมื่นสี่พันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน ) รายละเอียดดังนี้ - ค่าป้ายโครงการฯขนาด 1x3 เมตร ตารางเมตร 150 บาท จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ      เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการอบรม (สมุด ปากกา แฟ้ม เอกสารอบรม) 60 ชุด ชุดละ 60 บาท      เป็นเงิน 3,600บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง    เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าถ่ายเอกสารรวมเล่ม เปนเงิน  300 บาท
                                            รวมทั้งหมด 14,550 บาท       หมายเหตุ ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม รู้ถึงภาวะแทรกซ้อน และการดูแลตนเอง 2 กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถป้องกันอาการปวดเข่า และอาการปวดเมื่อย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:23 น.