กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา
รหัสโครงการ 65-L3052-03-003
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา
วันที่อนุมัติ 30 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 30 สิงหาคม 2565 - 30 สิงหาคม 2565
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2565
งบประมาณ 29,680.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาดีละห์ ดาแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกะดุนง อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.646,101.554place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 74 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๖ ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เป็นวัยที่สำคัญเหมาะสมในการปูพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตและพัฒนาอย่างมีคุณภาพ ผู้ปกครองมีบทบาทสำคัญในอบรมเลี้ยงดู ให้ความรักความเอาใจใส่ โดยเฉพาะเด็กช่วงอายุ 3 ปี เป็นโอกาสทองของชีวิต เพราะว่าสมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด พร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกๆด้าน ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน
      จากการสำรวจพัฒนาการในเด็กไทยพบว่า เด็กอายุ ๐ – ๖ ปี มีพัฒนาการล่าช้ากว่าร้อยละ ๓๐ หรือประมาณ ๔ ล้านคน จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – ๖ ปี เด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้ากว่าร้อยละ ๔.๕๑ซึ่งร้อยละ ๓.๔๔ เป็นพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองเด็ก  ๐ – ๖ ปี กว่าร้อยละ ๘๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ       เพื่อให้การดูแลพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับการดูแล ประเมินแก้ไขพัฒนาการ เฝ้าระวังด้านพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อเพื่อการรักษาในรายที่มีปัญหา เพื่อให้เด็กวัยดังกล่าวมีพัฒนาการที่สมวัย เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารนอีบาดะห์บ้านโตะบาลา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงพัฒนาระบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ให้สามารถค้นหาเด็กที่สงสัยหรือมีพัฒนาการล่าช้าและดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
  1. ครู ผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
1.00
2 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
  1. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
1.00
3 3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดวางแผนการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วมและเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วน
  1. มีการวางแผนการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างมีส่วนร่วมและเกิดการบูรณาการทุกภาคส่วน
1.00
4 4. เพื่อดำเนินการแก้ไขพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าได้อย่างเหมาะสม
  1. มีการแก้ไขพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าได้อย่างเหมาะสม
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครอง ร้อยละ 80 ได้รับความรู้ความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการคัดกรองและประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามคู่มือการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)
  2. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการติดตาม ประเมินผลและส่งเสริมกระตุ้นพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
  3. เด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการไม่สมวัยได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
  4. เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 10:53 น.