กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ
รหัสโครงการ 65-L2982-1-1
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางโกระ
วันที่อนุมัติ 1 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2565 - 30 กันยายน 2565
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 23,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสาวลักษณ์ ศรเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางโกระ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.76,101.108place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น 4 ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพ ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ สมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน นั้นเป็นเรื่องยากเพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ ในอดีตการสาธารณสุขของไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของ เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่มากระทำต่อร่างกาย เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง เป็นต้น แต่ปัจจุบันเมื่อการสาธารณสุขเจริญก้าวหน้า ขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคที่เกิดจากการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคติดต่อที่กลับมาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอีก เช่น โรค วัณโรค เป็นต้น และ ที่สำคัญยังมีโรคติดต่อที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาสร้างปัญหา และเป็นภัยต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก คือโรคโควิค19 โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ เป็นต้น การจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้องสร้างการรับรู้ด้านสุขภาพให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพ การบริการสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้อง มีความเข้าใจถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและการเข้ารับการบริการสุขภาพขั้นพื้นฐาน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) เป็นทักษะต่างๆทางการรับรู้และทางสังคมซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของปัจเจกบุคคลในการที่จะเข้าถึง เข้าใจและการใช้ข้อมูลในวิธีการต่างๆเพื่อส่งเสริมและบำรุงรักษาสุขภาพของตนเองให้ดีอยู่เสมอ เป็นทักษะที่มีความจำเป็นสำหรับบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง เป็นผลลัพธ์ขั้นสูงของกระบวนการทางสุขศึกษาร่วมกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
        การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพให้อยู่ในระดับสูง ช่วยเพิ่มทักษะชีวิต ส่งผลเกื้อหนุนสุขภาพของปัจเจกบุคคลและชุมชน อาจกล่าวได้ว่าการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางโกระ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะจัดให้มีโครงการสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ประชาน มีความรู้และผ่านเกณฑ์การประเมิน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

70.00
2 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

ประชาน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้ถูกต้อง ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70

70.00
3 เพื่อให้อสม.นำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำแก่ประชาชนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบได้

อสม.สำรวจข้อมูลบุคคลในครอบครัวสำหรับขึ้นทะเบียนเป็น อสค.ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้ประชาชนทั่วไปมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อให้อสม.นำความรู้ที่ได้รับไปแนะนำแก่ประชาชนในเขตที่ตนเองรับผิดชอบได้

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

9 ส.ค. 65 กิจกรรม ลงพื้นที่ฝึกปฎบัติงาน ดูแลกลุ่มเป้าหมาย 0.00 5,500.00 -
21 - 22 ก.ย. 65 กิจกรรม ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ทีมงานเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการชมรม 0.00 2,850.00 -
21 - 22 ก.ย. 65 กิจกรรม ทบทวนความรู้ อสม. จำนวน 2 วัน 0.00 14,850.00 -
21 - 22 ก.ย. 65 ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานแก่ทีมงานเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการชมรม 16.00 2,850.00 -
21 - 22 ก.ย. 65 กิจกรรม ทบทวนความรู้ อสม. จำนวน 2 วัน 55.00 14,850.00 -
21 - 22 ก.ย. 65 กิจกรรม ลงพื้นที่ฝึกปฎบัติงาน ดูแลกลุ่มเป้าหมาย 55.00 5,500.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง มีความรู้เท่าทันข้อมูลด้านสุขภาพในปัจจุบัน
  2. ประชาชนมีความรอบรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการรับรู้ข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง
  3. ประชาชน มีการดูแลสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงระบบบริการสุขภาพขั้นพื้นที่ฐาน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2565 13:50 น.