โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test เชิงรุกในพื้นที่
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test เชิงรุกในพื้นที่ |
รหัสโครงการ | 65-L1466-1-16 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ |
วันที่อนุมัติ | 12 กรกฎาคม 2565 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2565 - 30 กันยายน 2565 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2565 |
งบประมาณ | 36,890.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาววรางคณา ผลาพร |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายไชยา สุทธิโภชน์ |
พื้นที่ดำเนินการ | รพ.สต.นาเกลือ ตำบลนาเกลือ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.326,99.466place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
หลักการและเหตุผล มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยในสตรี และรองลงมาคือมะเร็งเต้านมจึงจัดว่าเป็นโรคที่มีความสำคัญมาก และพบว่ามะเร็งนี้ระยะก่อนลุกลามจะต้องใช่เวลาเฉลี่ยมากกว่า 10 ปี ที่จะกลายเป็นระยะลุกลาม สำหรับมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมระยะก่อนลุกลามนั้น การตรวจคัดกรองทำได้ไม่ยากและสามารถให้การรักษาในระยะนี้ช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้หายขาดจากโรคและไม่กลายเป็นระยะลุกลามในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มมะเร็งก่อนลุกลาม ส่วนผู้ป่วยในระยะลุกลามนั้นพบน้อยและมักเป็นระยะต้นๆ ของโรคส่วนมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สารถตรวจค้นหาด้วยตัวเองในระยะแรกๆได้ หากมีความเข้าใจในการคลำแต่ส่วนใหญ่พบว่าประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ยังขาดความเข้าใจในการตรวจหาก้อนมะเร็งด้วยตนเองและมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการมารับบริการมะเร็งปากมดลูก คือความรู้สึกอายและไม่กล้ามาตรวจตามนัด ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในที่สุด สำหรับประเทศไทย มะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม เป็นปัญหาทางสาธารณสุขค่อนข้างมากและเราต้องเสียงบประมาณ ในการดูแลรักษาผู้ป่วยเหล่านี้ซึ่งเป็นจำนวนมหาศาล สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ ได้คัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม และได้ทำการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างทันเวลา ทำให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขจนมาถึงทุกวันนี้ มะเร็งทั้งสองชนิด สามารถสามารถดูและป้องกันความตระหนัก และการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันที่ดีที่สุด คือ การค้นหาผู้ป่วยให้เร็วที่สุด ซึ่งการประชุมชี้แจง การสร้างความตระหนัก และการกระตุ้นให้เกิดการดูแลและป้องกันตัวในระยะแรก เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อลดอัตราการป่วยของสตรีจากโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเกลือ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30-70 ปี มีความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
|
0.00 | |
2 | ๑.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจสุขภาพและการคัดกรองโรคเบาหวาน
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30–60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก
|
0.00 | |
4 | 4. เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธ์อายุ 30–70 ปี สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 47 | 36,890.00 | 0 | 0.00 | 36,890.00 | |
1 ก.ค. 65 - 30 ก.ย. 65 | โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test เชิงรุกในพื้นที่ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ | 47 | 36,890.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 47 | 36,890.00 | 0 | 0.00 | 36,890.00 |
๒.วิธีการดำเนินการ
ระยะที่ 1
๑ ประชุมชี้แจงกลุ่มอาสาสมัครตรวจและกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในการคัดกรองและสาธิตการตรวจ คัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
๒เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
๓.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ และประสานงานเจ้าหน้าที่ผู้ตรวจและกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการตรวจ
๔ประชาสัมพันธ์โครงการโดยป้ายประชาสัมพันธ์(ไวนิล),
๖เจ้าหน้าที่/อสม.แต่ละหมู่บ้านออกสำรวจ/ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในแต่ละหมู่บ้านจำนวน3หมู่บ้าน
๗เจ้าหน้าที่รพ.สต นาเกลือ ประจำหมู่บ้านออกทำการสุ่ม ประเมินการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
เดือนละ1 ครั้ง
๘ให้บริการตรวจมะเร็งเต้านมทั้งในและนอกสถานบริการ ตามหมู่บ้านในภาคบ่าย ในการออกเยี่ยมบ้าน
ระยะที่ 2
1.แจ้งผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่ผู้มารับบริการ
2.ดำเนินกิจกรรมตามแผนการตรวจมะเร็งปากมดลูกให้สุขศึกษารายบุคคล
3. การแจ้งผลตรวจมะเร็งปากมดลูก นัดหมายมารับผลการตรวจใน 1 เดือน นัดมาเพื่อรับฟังและอธิบายผลการตรวจและการส่งต่อ
5.ให้บริการตรวจมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ โดยอาสาสมัครออกติดตามกลุ่มเป้าหมาย
.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในการดูแลตนเองเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. ประชากรกลุ่มเป้าหมายเข้ามารับบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80 ขึ้นไป
4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้
๕.ในรายที่ผลผิดปกติ ได้รับบริการติดตามดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องทุกคน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 2565 10:01 น.